Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

แมลงไม่ดี อย่าให้มีในสวน

แมลง

แมลงศัตรูพืช เป็นแมลงไม่ดี อย่าให้มีในสวน

แมลงศัตรูพืช เป็นแมลงที่ทำให้พืชผักเสียหายได้ โดยแมลงพวกนี้จะเข้ามากัดกินใบจนเป็นรอยแหว่ง ดูดกินน้ำเลี้ยงจนผลและใบหงิกงอ เป็นพาหะนำพาเชื้อไวรัสจากอีกต้นหนึ่งสู่อีกต้นหนึ่ง จนกระทั่งพืชผักที่ปลูกไม่สามารถนำมารับประทานได้เลย
แมลงศัตรูพืช เหล่านี้สามารถแบ่งตามลักษณะการเข้าทำลายได้ 2 ประเภท คือ แมลงปากดูด และ แมลงปากกัด
• แมลงปากดูด (Sucking) เป็น แมลงศัตรูพืช ที่มักอาศัยอยู่ตามยอดอ่อน ใบอ่อน ใต้ใบ ซอกใบต่างๆ โดยจะใช้ปากดูดกินน้ำเลี้ยงของพืช ทำให้ใบพืชเหี่ยว ม้วน หงิกงอก มีรอยไหม้ ลำต้นแคระ ไม่พอยังเป็นพาหะของเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุโรคพืชแพร่กระจายอีกด้วย
แมลงปากกัด (Chewing) ชอบกัดกินยอดใบจนกุด หรือทำให้ใบพืชเป็นรูพรุนจนเหลือแต่เส้นใบและก้านใบ ซึ่งทำให้พืชหยุดการเจริญเติบโตเพราะขาดใบที่ใช้สังเคราะห์แสงสร้างอาหาร

เพลี้ยอ่อน (Aphid)
มีลำตัวอ่อนนิ่มสมชื่อ รูปร่างค่อนข้างกลม ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงของพืช สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าจะเห็นเป็นกลุ่มก้อนเกาะอยู่ใต้ใบพืช นอกจากนี้ยังถ่ายมูลออกมาเป็นน้ำหวานทำให้เชื้อราเจริญบนต้นพืช และเป็นพาหะของโรคไวรัสในพืชหลายชนิด
อาการที่พบ : ส่วนยอด ใบ ใบอ่อนหงิกงอและแคระแกรน
ช่วงที่ระบาด : ฤดูร้อนและฤดูหนาว
พืชอาหาร : พืชตระกูลแตงและถั่วต่างๆ โหระพา พริก มะเขือเทศ ผักสลัด เป็นต้น
วิธีการกำจัด : ฉีดพ่นด้วย เชื้อราบิวเวอร์เรีย บาสเซียนา (Beauveria bassiana) โดยเชื้อราจะเข้าสู่ตัวแมลงผ่านรูหายใจ ผนังลำตัว จากนั้นก็จะเจริญเติบโตอยู่ภายในตัวแมลง จนกระทั่งเส้นใยทะลุผนังลำตัวของแมลงออกมา และทำให้แมลงตายในที่สุด

เพลี้ยไฟ (Thrips)
เป็นแมลงขนาดเล็ก เคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว ลำตัวมีสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยมีปีกคล้ายขนนก 2 คู่ ซึ่งเพลี้ยไฟมีหลายชนิด มักเรียกตามชื่อของพืชที่มันเข้าทำลาย เช่น เพลี้ยไฟโหระพา เพลี้ยไฟพริก เป็นต้น
อาการที่พบ : ใบ ยอดอ่อน ตาดอก และดอก มีอาการหงิกงอและแคระแกรน ใบด่างเหลือง มีรอยแผลสีน้ำตาล
ช่วงที่ระบาด : ฤดูร้อน
พืชอาหาร : พริก มันฝรั่ง แตงกวา เมลอน มะนาว กล้วยไม้ ผักสลัด มะม่วง เป็นต้น
วิธีการกำจัด : ฉีดพ่นด้วย เชื้อราบิวเวอร์เรีย บาสเซียนา (Beauveria bassiana) โดยเชื้อราจะเข้าสู่ตัวแมลงผ่านรูหายใจ ผนังลำตัว จากนั้นก็จะเจริญเติบโตอยู่ภายในตัวแมลง จนกระทั่งเส้นใยทะลุผนังลำตัวของแมลงออกมา และทำให้แมลงตายในที่สุด

เพลี้ยแป้ง (Mealybug)
เป็นแมลงที่เคลื่อนไหวช้า ลำตัวปกคลุมด้วยไขสีขาวลักษณะคล้ายแป้ง ทำให้สังเกตได้ง่ายโดยเห็นเป็นกลุ่มก้อนสีขาวเกาะอยู่ตามยอดอ่อนและใบอ่อนของพืช นอกจากนี้ยังถ่ายมูลที่เป็นน้ำหวานออกมาทำให้เป็นแหล่งเพาะราดำ
อาการที่พบ : ใบ ใบอ่อน ยอดอ่อน และผล มีลักษณะหงิกงอและแคระแกรน
ช่วงที่ระบาด : ฤดูร้อน
พืชอาหาร : ผักและผลไม้หลายชนิด พริก มะเขือเทศ กระเจี๊ยบเขียว กล้วย น้อยหน่า หม่อน เป็นต้น
วิธีการกำจัด : ฉีดพ่นด้วย เชื้อราบิวเวอร์เรีย บาสเซียนา (Beauveria bassiana) โดยเชื้อราจะเข้าสู่ตัวแมลงผ่านรูหายใจ ผนังลำตัว จากนั้นก็จะเจริญเติบโตอยู่ภายในตัวแมลง จนกระทั่งเส้นใยทะลุผนังลำตัวของแมลงออกมา และทำให้แมลงตายในที่สุด

ไรแดง (Red Spider Mite)
มีขนาดเล็กมาก แต่ยังพอสามารถสังเกตเห็นด้วยตาเปล่าได้ โดยจะเห็นเป็นจุดสีแดงเล็กๆ ที่สามารถเคลื่อนไหวไปมาได้ ไรแดงมักจะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบและส่วนยอดของพืช อยู่อาศัยกันเป็นกลุ่มและสร้างเส้นใยปกคลุม ไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย เอาไว้
อาการที่พบ : ใบมีจุดสีขาวเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไปและหากปล่อยไว้จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแห้ง ส่วนยอดจะชะงักการเจริญเติบโต
ช่วงที่ระบาด : ฤดูร้อน
พืชอาหาร : ส้ม มะละกอ ขนุน มะนาว มะกรูด แตงโม และถั่วชนิดต่างๆ
วิธีการกำจัด : ฉีดพ่นด้วย เชื้อราบิวเวอร์เรีย บาสเซียนา (Beauveria bassiana) โดยเชื้อราจะเข้าสู่ตัวแมลงผ่านรูหายใจ ผนังลำตัว จากนั้นก็จะเจริญเติบโตอยู่ภายในตัวแมลง จนกระทั่งเส้นใยทะลุผนังลำตัวของแมลงออกมา และทำให้แมลงตายในที่สุด

มวนเขียว (Green Stink Bug)
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยใช้ปากแทงเข้าไปในผล ดูดกินน้ำเลี้ยงทั้งผลอ่อนและผลแก่ ทำให้การพัฒนาของผลเสียหาย
อาการที่พบ : ผิวของผลไม้เป็นรอยด่าง ด้านในของผลมีพัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์ และถ้าโดนดูดกินมากผลก็จะร่วงหล่นได้
ช่วงที่ระบาด : ฤดูร้อน
พืชอาหาร : พืชตระกูลส้มเกือบทุกชนิด มะนาว มะกรูด
วิธีการกำจัด : ฉีดพ่นด้วย เชื้อราบิวเวอร์เรีย บาสเซียนา (Beauveria bassiana) โดยเชื้อราจะเข้าสู่ตัวแมลงผ่านรูหายใจ ผนังลำตัว จากนั้นก็จะเจริญเติบโตอยู่ภายในตัวแมลง จนกระทั่งเส้นใยทะลุผนังลำตัวของแมลงออกมา และทำให้แมลงตายในที่สุด

แมลงดีมีประโยชน์ในแปลงผัก

กลุ่มแมลงที่ดีและมีประโยชน์ในแปลงผัก นี้โดยทั่วไปมักเรียกกันว่า แมลงที่เป็นศัตรูธรรมชาติ หมายถึง แมลงที่เป็นประโยชน์ในการควบคุมจำนวนแมลงศัตรูพืช ให้อยู่ในสภาพสมดุลตามธรรมชาติ ซึ่งแมลงที่เป็นศัตรูธรรมชาติในที่นี้ ก็จะมี แมลงเบียน (Parasite)และแมลงห้ำ (Predator)

แมลงเบียน หรือตัวเบียน (Parasitoid) จะเป็นแมลงขนาดเล็ก ที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการเกาะกินสัตว์หรือ แมลงชนิดอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่า คล้ายกับกาฝาก ทำให้แมลงที่ถูกเกาะกินอ่อนแอและตายในที่สุด ตัวเบียน 1 ตัว ต้องการเหยื่อเพียงตัวเดียวในการเจริญครบวงจรของมัน โดยทั่วไป ตัวเบียนจะ เป็นเพศเมียที่วางไข่ลงไปในเหยื่อ เช่น ไส้เดือนฝอย แตนเบียนไข่ แตนเบียนหนอน แตนเบียนดักแด้ เป็นต้น

แมลงห้ำ หรือ ตัวห้ำ(Predators) เป็นกลุ่มของแมลงที่กินแมลงอื่นเป็นอาหาร ตัวห้ำจะมีขนาดใหญ่และแข็งแรงกว่าเหยื่อ และจะทำให้เหยื่อตายในเวลารวดเร็ว ตัวห้ำ 1 ตัว สามารถกินเหยื่อได้หลายตัวและหลายชนิด อีกทั้งยังกินเหยื่อได้ทุกระยะการเจริญเติบโต 

ตัวอย่างแมลงที่เป็นตัวเบียนและตัวห้ำ

1.แมงมุม
เป็นสัตว์จำพวกแมง เรามักพบเจอแมงมุมได้ทั่วไป ซึ่งแมงมุมนั้นจะทำการชักใยเพื่อดักจับเยื่อ ไม่ว่าจะเป็นอาหารจานโปรดอย่างเพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยกระโดด ผีเสื้อหนอนกอข้าว หนอนห่อใบข้าว หนอนแมลงวันข้าว ไร และแมลงศัตรูพืชแทบทุกชนิด ด้วยการล่าเหยื่อที่ไม่ต้องออกแรงมากเพียงแค่ใยใส ๆ ที่ถูกขึงตามต้นไม้ นาข้าว หรือตามกิ่งไม้ขนาดเล็กเพื่อดักจับแมลงที่บินผ่าน แล้วดูดกินของเหลวภายในตัวเหยื่อ ก็ช่วยกำจัดศัตรูพืชให้กับเราได้อย่างง่ายดาย

2.แมลงช้างปีกใส
คือแมลงที่สามารถกินได้เก่งพวกมันสามารถทำลายฟาดฟันศัตรูพืชขนาดเล็กได้หลายชนิดที่ทำสถิตได้มากกว่า 60 ตัว/ชั่วโมง จานโปรดของแมลงช้างปีกใสนี้จะได้แก่ ไข่ผีเสื้อกลางคืน เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย และหนอนผีเสื้อขนาดเล็กต่างๆ เช่น หนอนคืบกระหล่ำปลี

3.ด้วงดิน
อาหารของด้วงดินจะเป็นทาก หอยทาก หนอน หนอนกะหล่ำปลี และศัตรูพืชอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในสวนหรือในแปลงผักของคุณโดยสกิลความสามารถในการทำลายล้างของด้วงดินหนึ่งตัว นี้สามารถกินแมลงต่าง ๆ ได้ถึงจำนวนมากกว่า 50 ตัวเลยทีเดียว

Facebook Comments Box