Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

บทบาทของสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้รอดชีวิตจากเรือไททานิค

ในปี ค.ศ. 1912 เรืออาร์เอ็มเอสไททานิค (RMS Titanic) หรือเรียกสั้นๆ ว่าเรือไททานิคได้จมลงสู่ก้นมหาสมุทรแอตแลนติก เนื่องจากเรือไททานิคชนกับภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่มีอายุมากว่า 1000 ปีก่อนคริสตกาลระหว่างการเดินทางจากเซาท์แทมป์ตัน สหราชอาณาจักร ไปนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ดังแสดงในรูปที่ 2 หลังจากที่เรือไททานิคชนภูเขาน้ำแข็งไปแล้วประมาณ 45 นาทีน้ำได้ไหลเข้ามาในตัวเรืออย่างรวดเร็ว จากนั้นกัปตันเรือ ซึ่งคือ เอ็ดเวิร์ด สมิธ (Edward Smith) ได้ประเมินแล้วว่าต้องสละเรือไททานิคและทำการอพยพผู้โดยสารลงเรือชูชีพ เขาจึงให้บริกรเดินไปปลุกผู้โดยสารและลูกเรือทีละประตู เนื่องจากเรือไททานิกไม่มีระบบเสียงตามสาย  การแจ้งข่าวและการให้บริการของผู้โดยสารในแต่ละชั้นก็จะแตกต่างกัน ผู้โดยสารชั้นเฟิร์สต์คลาสจะได้รับการดูแลอย่างดีและถูกนำทางไปบนดาดฟ้าเรือด้วยเพื่ออพยบ ส่วนผู้โดยสารในชั้นที่สองและชั้นที่สาม บริกรจะเปิดประตูเพื่อแจ้งข่าวและบอกให้ผู้โดยสารใส่เสื้อชูชีพและให้ขึ้นไปบนชั้นดาดฟ้า ผู้โดสารส่วนใหญ่คิดว่าการใช้เสื้อชูชีพเป็นเรื่องตลก และจำนวนเรือชูชีพไม่เพียงพอในการเคลื่อนย้านผู้โดยสารทุกคนบนเรือ ระบบเรือชูชีพของไททานิคได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ผู้โดยสารข้ามไปยังเรือกู้ภัยใกล้เคียง ไม่ใช่ให้ทุกคนอยู่บนเรือชูชีพในเวลาเดียวกัน เนื่องจากการที่เรือจมอย่างรวดเร็วและไม่มีอุปกรณ์ช่วยเหลือที่ปลอดภัยเพียงพอสำหรับผู้โดยสารและลูกเรือจำนวนมาก จึงทำให้การจัดการการอพยพไม่มีประสิทธิภาพ และมีการปล่อยเรือชูชีพจำนวนมากก่อนที่เรือจะเต็ม จากการล่มของเรือไททานิคทำให้มีการตั้งกฎการเดินเรือใหม่ๆ เช่น จำนวนเรือชูชีพต้องสามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารและลูกเรือได้ทั้งหมด และต้องมีเสื้อชูชีพที่สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารและลูกเรือได้ทั้งหมด เป็นต้น

เรืออาร์เอ็มเอสไททานิค (RMS Titanic)
รูปที่ 1 เรือไททานิค (https://www.blockdit.com/posts/601e1ac557c0410bb80c0ff5)
เรืออาร์เอ็มเอสไททานิค (RMS Titanic)
รูปที่ 2 แสดงเส้นทางการเดินเรือของเรือไททานิกจากเซาแทมป์ตันถึงนิวยอร์ก โดยจุดสีเหลืองคือจุดที่เรืออับปาง (https://th.wikipedia.org/wiki/การอับปางของเรืออาร์เอ็มเอสไททานิก)

Butler (1998 หน้า 239) รายงานข้อมูลจำนวนผู้รอดชีวิตและจำนวนผู้เสียชีวิตของผู้โดยสารเรือไทเทนิค แสดงข้อมูลได้ดังนี้

ชั้นของผู้โดยสาร

จำนวนผู้เสียชีวิต

จำนวนผู้รอดชีวิต

สัดส่วนของผู้รอดชีวิต

เฟิร์สต์คลาส

123

201

0.6204

ชั้นสอง

169

116

0.4070

ชั้นสาม

523

117

0.1828

ลูกเรือ

677

207

0.2341

จากข้อมูลข้างต้นมักมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการรอดชีวิตจากเรือไทเทนิค หนึ่งในคำถามที่น่าสนใจคือการรอดชีวิตจากการล่มของเรือไททานิคเป็นโชคชะตาหรือถูกวางแผนไว้  ดังนั้นในบทความนี้จึงสนใจที่จะใช้สถิติในการตอบคำถามข้างต้น  การวิเคราะห์ทางสถิติที่สามารถนำมาใช้ในการตอบคำถามคือการทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test of Independence) ซึ่งสามารถทดสอบได้ว่าชั้นของผู้โดยสารและการรอดชีวิตมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ สมมติฐานของการทดสอบข้างต้นสามารถแสดงได้ดังนี้

H0 : ชั้นของผู้โดยสารและการรอดชีวิตไม่มีความสัมพันธ์กัน

H1 : ชั้นของผู้โดยสารและการรอดชีวิตมีความสัมพันธ์กัน

เมื่อทำการวิเคราะห์พบว่าค่าสถิติทดสอบ  และมีค่า p-value <   ดังนั้นจึงไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะปฏิเสธสมมติฐานหลัก และสามารถสรุปได้ว่าชั้นของผู้โดยสารและการรอดชีวิตมีความสัมพันธ์กัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05  จากข้อมูลพบว่าผู้โดยสารชั้นเฟิร์สต์คลาสมีสัดส่วนของผู้รอดชีวิตมากว่าผู้โดยสารชั้นอื่นๆ  ซึ่งอาจจะเกิดมาจากผู้โดยสารในชั้นเฟิร์สต์คลาสได้รับการดูแลจากบริกรเป็นพิเศษ และได้ขึ้นเรือชูชีพก่อนผู้โดยสารในชั้นอื่นๆ  ดังนั้นมีความเป็นไปได้ว่าการรอดชีวิตจากการล่มของเรือไททานิคอาจจะไม่ใช่โชคชะตาเพียงอย่างเดียว แต่อย่างไรก็ตามการรอดชีวิตจากการล่มของเรือไททานิคเป็นผสมผสานระหว่างโชคชะตาและการวางแผนที่ดี  ผู้รอดชีวิตมีความโชคดีที่สามารถเข้าถึงเรือชูชีพได้ แต่ถ้าปราศจากการวางแผนการอพยพขึ้นเรือชูชีพที่ดีแล้ว ผู้โดยสารก็อาจจะไม่สามารถรอดชีวิตได้เช่นกัน 

เอกสารอ้างอิง

Butler, D. A. (1998). Unsinkable: Story of RMS Titanic. Mechanicsburg, PA: Stackpole Books.

https://industrial-station.blogspot.com/2023/01/the-role-of-statistics-to-analyze.html


ผู้เขียน ผศ.ดร.วนิดา ลิ่มมั่น

Facebook Comments Box