Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

สถาปนิกผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม เป็นอย่างไร?

สถาปนิกผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม เป็นอย่างไร?

     ในปัจจุบันเราคงคุ้นเคยกับวิชาชีพสถาปนิก เป็นวิชาชีพควบคุมอีกอาชีพหนึ่งที่เหมือนกับ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทนายความ ฯลฯ ซึ่งในประเทศไทยเราได้มีการกำหนดเป็นพระราชบัญญัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมมาตั้งแต่ พ.ศ.2508 และ เมื่อปี พ.ศ.2543 ได้มีการจัดตั้งสภาสถาปนิกขึ้น เป็นองค์กรที่ดูแล ควบคุมการประกอบวิชาชีพสถาปนิก ทั้ง 4 สาข

สถาปนิกผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม เป็นอย่างไร?

วิชาชีพสถาปนิก แบ่งออกเป็น 4 สาขา ดังนี้ 

1.สาขาสถาปัตยกรรมหลัก รับผิดชอบ การออกแบบอาคาร ซึ่งจะเรียกผู้ประกอบวิชาชีพนี้ว่า สถาปนิก
2.สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง รับผิดชอบการออกแบบวางผังกลุ่มอาคาร ผังชุมชน ผังเมือง ซึ่งจะเรียกผู้ประกอบวิชาชีพนี้ว่า สถาปนิกผังเมือง
3.สาขาภูมิสถาปัตยกรรม รับผิดชอบการออกแบบวางผังพื้นที่ใช้สอยภายนอกอาคาร ซึ่งจะเรียกผู้ประกอบวิชาชีพนี้ว่า ภูมิสถาปนิก
4.สาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ รับผิดชอบการออกแบบวางผังพื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร ซึ่งจะเรียกผู้ประกอบวิชาชีพนี้ว่า มัณฑนากร
           งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม  เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงกำหนด วิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม  พ.ศ.  ๒๕๔๙  ดังต่อไปนี้
1.งานศึกษาโครงการ
2.งานออกแบบ
3.งานบริหารและอำนวยการก่อสร้าง
4.งานตรวจสอบ
5.งานให้คำปรึกษา
     ปัจจุบันผู้ที่สำเร็จการศึกษาในสาขาดังกล่าว หากประสงค์ต้องการใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะต้องสอบขอรับใบอนุญาตดังกล่าว ซึ่งสภาสถาปนิกจะมีการจัดสอบปีละ 3 ครั้ง   หลังจากสอบผ่านจะมีการอบรมก่อนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และหากมีประสบการณ์การทำงานมากขึ้นก็สามารถนำผลงานยื่นขอเลื่อนระดับและสอบสัมภาษณ์ โดยเริ่มจาก ระดับดังนี้
    1.ภาคีสถาปนิก    (Associate Architect)
    2.สามัญสถาปนิก (Professional Architect)
    3.วุฒิสถาปนิก     (Senior Architect)

สาขาสถาปัตยกรรมหลัก รับผิดชอบ การออกแบบอาคาร ซึ่งจะเรียกผู้ประกอบวิชาชีพนี้ว่า สถาปนิก

สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง รับผิดชอบการออกแบบวางผังกลุ่มอาคาร ผังชุมชน ผังเมือง ซึ่งจะเรียกผู้ประกอบวิชาชีพนี้ว่า สถาปนิกผังเมือง

สาขาภูมิสถาปัตยกรรม รับผิดชอบการออกแบบวางผังพื้นที่ใช้สอยภายนอกอาคาร ซึ่งจะเรียกผู้ประกอบวิชาชีพนี้ว่า ภูมิสถาปนิก

สาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ รับผิดชอบการออกแบบวางผังพื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร ซึ่งจะเรียกผู้ประกอบวิชาชีพนี้ว่า มัณฑนากร

สรุปได้ว่า  สถาปนิกวิชาชีพ(Professional Architect) และการออกแบบงานสถาปัตยกรรมควบคุมจะมีการกำหนดพื้นที่ ขนาดความสูงอาคาร ประเภทอาคาร ซึ่งจะเรียกว่า งานสถาปัตยกรรมควบคุม โดยจะมีผู้ที่ได้รับใบอนุญาตในสาขาดังกล่าวเท่านั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบงานดังกล่าวได้ และในงานด้านวิศวกรรมก็จะมีวิศวกรสาขาต่างๆ เป็นผู้รับผิดชอบงานออกแบบและคำนวณร่วมกันอีกด้วย
Facebook Comments Box