Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

ไขมัน กินอย่างไรให้ได้ประโยชน์

บทความโดย นางสาววาสนา สีจันดี ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมและการกีฬา  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

เมื่อเราพูดถึง “ไขมัน” คนเราส่วนใหญ่ก็จะกังวลว่าจะทานไขมันเกินมั้ย กลัวไขมันสะสมแต่ไม่ได้คำนึงถึงว่าเราได้รับปริมาณไขมันดีในปริมาณที่เพียงพอหรือไม่ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพต่างๆได้ ร่างกายของเราต้องการปริมาณไขมันที่เพียงพอ เพื่อเป็นแหล่งพลังงานช่วยละลายและดูดซึมวิตามินหลายชนิด และให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันรวมถึงการผลิตฮอร์โมนและระบบการเผาผลาญทำงานได้อย่างปกติ หากเรารับประทานปริมาณไขมันที่มากพอจะช่วยให้รู้สึกอิ่มท้องในระหว่างมื้ออาหารได้ด้วย แต่ถ้าร่างกายได้รับไขมันอิ่มตัวและไขมันไม่อิ่มในปริมาณที่มากจนเกินไป ก็อาจจะส่งผลไม่ดีได้เช่นกัน ทั้งยังเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ มะเร็ง อัลไซเมอร์ และอื่นๆอีกมากมาย

“ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับไขมันดีและไขมันไม่ดีกันเถอะ”

ไขมันแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
– ไขมันอิ่มตัว ( Saturated fat )
– ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ( Monounsaturated Fat )
– ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ( polyunsaturated Fat )

แล้วอะไรคือไขมันดี ไขมันเลว ?

ไขมันดี (healthy fat) ก็คือ ไขมันที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการอะไรมาเลย ไม่ว่าจะเป็นไขมันอิ่มตัวหรือไม่อิ่มตัว
ไขมันเลว ก็คือ ไขมันที่ผ่านกระบวนการ ทางอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น Trans fat, Hydrogenated fats มาร์การีน

“เราควรเลือกกินในปริมาณที่พอเหมาะ”

 แม้ว่าไขมันดีจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากเพียงใด แต่เราควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เช่น โดยปกติคนเราควรได้รับไขมันทั้งหมดไม่ต่ำกว่าน้ำหนักตัว 1 kg x 1g ยกตัวอย่าง น้ำหนักตัว 50 kg ก็กิน ไขมัน 50g ต่อวัน แต่หากเรารับประทานในปริมาณที่มากจนเกิดไป ร่างกายก็จะเปลี่ยนไขมันเป็นไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัว และสะสมตามแขน ขา หน้าท้อง ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและโรคร้ายแรงอื่น ๆ

“เลือกกินไขมันจากหลากหลายแหล่ง”

 ร่างกายเราควรได้รับไขมันจากหลายแหล่ง เช่น ปลา ถั่วเปลือกแข็ง สาหร่าย ไข่ น้ำมันมะกอก อโวคาโด เมล็ดเจีย เป็นต้น และไม่ควรรับอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับต่อวันเลือกกินอาหารที่ถูกปรุงอย่างถูกวิธี” สำหรับผู้ที่นิยมกินอาหารประเภททอดหรือผัด แต่ไม่ต้องการให้ค่าไขมันสูงเกินไป แนะนำให้เลือกใช้น้ำมันเมล็ดงาและน้ำมันมะกอก เนื่องจากน้ำมันทั้ง 2 ชนิดนี้จะให้ปริมาณไขมันต่ำกว่าการใช้น้ำมันประเภทอื่นเลือกกินอาหาร ควบคู่การออกกำลังกาย” การเลือกกินอาหารไม่เพียงแต่เลือกกินอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายเท่านั้น การออกกำลังกายถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้ไขมันในร่างกายลดลง เนื่องจากระหว่างออกกำลังกาย ร่างกายจะดึงไขมันส่วนเกินมาใช้ ซึ่งควรออกกำลังกายครั้งละ 30-60 นาที และควรทำอย่างสม่ำเสมออาทิตย์ละ 3-5 วัน

สำหรับใครที่กำลังรอผลการตรวจสุขภาพประจำปีอย่าลืมสังเกตตัวเลขไขมัน ทั้งไขมันดีและไขมันไม่ดี เนื่องจากตัวเลขเหล่านี้เปรียบเสมือนกระจกที่สะท้อนความแข็งแรงภายในร่างกายสำคัญที่สุดคือการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์จากไขมันดีควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย และอย่าลืมตรวจเลือดเพื่อติดตามค่าไขมันอย่างสม่ำเสมอ

Facebook Comments Box