Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

นิยามและสิ่งที่ควรเข้าใจเกี่ยวกับการบริการวิชาการ

ความหมายของการบริการวิชาการ
การบริการวิชาการแก่สังคม (สกอ.,2553) หมายถึง กิจกรรมหรือโครงการให้บริการแก่ สังคมภายนอกสถาบันการศึกษา หรือเป็นการบริการที่จัดในสถาบันการศึกษาโดยมีบุคคลภายนอกเข้ามาใช้บริการ
การให้บริการวิชาการ (สมศ.,2554) หมายถึง การที่สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งอยู ในฐานะ
ที่เป็นที่พึ่งของชุมชนหรือสังคม เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการหรือทําหน้าที่ใดที่มีผลต่อการพัฒนาชุมชนในด้านวิชาการหรือการพัฒนาความรู้ ตลอดจนความเขมแข็งประเทศชาติและนานาชาติ การบริการวิชาการเป็นการบริการที่มีค่าตอบแทนและบริการวิชาการให้เปล่า โดยมีการนําความรู้และประสบการณ์มาใช้พัฒนาหรือบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนและการวิจัย
โครงการที่มีผลต่อการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน หมายถึง โครงการที่สถาบันจัดขึ้น เพื่อพัฒนาชุมชนหรือองค์กรภายนอกและเมื่อดําเนินการแล้ว มีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น แก่ชุมชนหรือองค์กรภายนอกในด้านต่างๆ หรือทําให้ชุมชนหรือองค์กรภายนอกสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามศักยภาพของตนเอง
ลักษณะและขอบเขตของการบริการวิชาการแก่สังคม
การบริการวิชการตามเกณฑ์รับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ได้กำหนดลักษณะและขอบเขตของการบริการวิชาการและวิชาชีพ ดังนี้
  1. บริการวิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบและตรวจซ่อม
  2. บริการวิชาการและอุปกรณ์ต่างๆ ทางการศึกษา
  3. บริการจัดฝึกบอรม สัมมนา และประชุมเชิงปฏิบัติการแบบเก็บค่าลงทะเบียน
  4. บริการจัดฝึกอบรม สัมมนา และประชุมเชิงปฏิบัติการแบบให้เปล่า(กรณีที่มีแหล่งสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพียงพอไม่ต้องเก็บค่าลงทะเบียน)
  5. บริการจัดฝึกอบรม สัมมนา และประชุมเชิงปฏิบัติการในลักษณะการว่าจ้าง
  6. บริการที่เกี่ยวกับสุขภาพที่นอกเหนือจากหน้าที่ความรับผิดชอบโดยตรงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  7. บริการศึกษา วิจัย สำรวจ การวางแผน การจัดการ
  8. บริการศึกษาความเหมาะสมของโครงการการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
  9. บริการวางระบบ ออกแบบ สร้าง ประดิษฐ์ และผลิต
  10. บริการอื่นๆ ทั้งนี้ไม่นับรวมการเป็นวิทยากรที่ไม่ได้อยู่ในแผนของสถาบัน
แนวทางในการบริหารโครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการ
  1. การให้บริการวิชาการแก่หน่วยงานและบุคคลทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จะต้องผ่านกลไกลการบริหาร และกระบวนการดำเนินการของสำนักวิชาหรือหน่วยงาน ซึ่งผู้รับผิดชอบในรูปแบบคณะกรรมการที่เรียกว่า คณะกรรมการบริหารโครงการบริการวิชาการ
  2. การพิจารณารับงาน ให้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ดังนี้
    • เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการที่หน่วยงานรับผิดชอบและอยู่ในวิสัยและความสามารถที่หน่วยงานจะดำเนินการให้ลุล่วงสำเร็จประโยชน์ได้
    • เป็นงานที่อยุ่ในแผนดำเนินการหรือมีความสอดคล้อง
    • เป็นงานที่ได้รับค่าตอบแทน หรือค่าบริการวิชาการเพียงพอกับค่าใช้จ่ายต่างๆ หรือเป็นงานที่อธิการบดีสั่งการหรืออนุมัติให้ดำเนินการเป็นกรณีพิเศษ
    • การจัดทำโครงการบริการวิชาการแก่สังคม จะต้องจัดทำดครงการเสนอต่อผู้บริหารที่มีอำนาจพิจารณาอนุมัติ ดังนี้ (1)งบประมาณโครงการไม่เกิน 1,000,000บาทให้เสนอ รองอธิการบดีที่กำกับดูแลเพื่อพิจารณาอนุมัติ (2)งบประมาณโครงการเกิน1,000,000บาทขึ้นไป ให้เสนอต่ออธิการบดีเพื่อพิจารณาอุมัติ
    • โครงการบริการวิชาการใดที่จัดทำต่อเนื่อง โดยมีอัตราจัดเก็บค่าบริการ และการบริหารงบประมาณ กำหนดค่าใช้จ่าย และแบ่งสัดส่วนรายได้ตอบแทนไม่เปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญให้ขออนุมัติอธิการบดีเพียงครั้งแรกครั้งเดียว
    • ค่าบริหารโครงการ บริการวิชาการ กำหนดให้ 15 % คิดจากงบประมาณโครงการก่อนหักค่าใช้จ่าย วิจัย กำหนดให้ 10 % คิดจากงบประมาณของโครงการก่อนหักค่าใช้จ่าย โดยหากมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างอื่นที่นอกเหนือจากกำหนดให้เสนอต่ออธิการบดีเพื่อพิจารณาอนุมัติ
ลักษณะของกิจกรรม/โครงการการบริการวิชาการแก่สังคม
  1. กิจกรรม/โครงการที่ขอใช้งบประมาณบริการทางวิชาการ ต้องเป็นกิจกรรม/โครงการที่มีลักษณะตามนิยามที่ สมศ. และ สกอ. กำหนด
  2. กลุ่มเป้าหมายของการให้บริการวิชาการ ได้แก่ กลุ่มลูกค้าซึ่งในที่นี้เรียกว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders)ของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีอยู๋ด้วยกัน 7 กลุ่ม ได้แก่
    • นักศึกษาปัจจุบัน
    • บุคลากรภายใน
    • ศิษย์เก่า
    • ตลาดแรงงาน
    • รัฐบาล
    • สังคมและชุมชน
    • ผู้ให้การสนับสนุนด้านการเงิน
  3. มหาวิทยาลัยมีนโยบายที่เน้นการบริการวิชาการแบบบูรณาการให้การบริการวิชาการการมีความสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนะรรม
  4. สถานที่จัดกจิกรรม/โครงการ อาจจัดขึ้นในมหาวิทยาลัยหรือจัดขึ้นในพื้นที่อื่นก็ได้
  5. ในการจัดโครงการบริการวิชาการ ควรศึกษาความต้องการกลุ่มเป้าหมายก่อน เพื่อให้โครงการต่างๆ สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง
  6. กิจกรรม/โครงการบริการวิชาการ อาจจะเป็นโครงการแบบให้เปล่า โครงการที่เก็บค่าลงทะเบียนบางส่วน หรือเป็นโครการที่เก็บค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดรายได้ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย หรือเป็นโครงการที่เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับองค์กรหรือหน่วยงานภายนอกก็ได้

ข้อมูลอ้างอิง

1. แนวทางการประเมินประกันคุณภาพภายนอก ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2564 http://www.onesqa.or.th/upload/download/202107151507509.pdf

Facebook Comments Box