Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

รู้หรือไม่?การปิดการติดต่อสื่อสารหลังเวลางานไม่ใช่ความผิด

ในยุคปัจจุบันนี้การทำงานนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งการทำงานแบบ Work From Home ที่สามารถทำงานที่บ้านได้ไม่ต้องเดินทางไปที่ออฟฟิศ และ สามารถทำงานได้ทุกที่ที่สะดวก เพราะการติดต่อสื่อสารนั้นทำได้ง่ายและรวดเร็วมาก แต่นั้นก็มีข้อเสียคือเราจะรับรู้ข้อมูลต่างๆ ของงานที่ทำได้ตลอดเวลา นั้นทำให้เราไม่สามารถโฟกัสกับสิ่งอื่นในชีวิตหรือกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ ทำให้เกิดความวิตกกังวลและการที่เราจะต้องคอยดู E-mail หรือ ข้อความ ตลอดเวลา ซึ่งการกระทำแบบนั้นไม่สมควรจะเกิดขึ้นนอกเวลางานเพราะจะทำให้ความสุขในการใช้ชีวิตและคุณภาพชีวิตของลูกจ้างนั้นแย่ลง ถึงขั้นในบางประเทศการติดต่องานนอกเวลาถือเป็นเรื่องที่ผิดกฏหมายด้วย ยกตัวอย่างเช่น

                   – ประเทศฝรั่งเศส จะให้สิทธิ์ลูกจ้างนั้นตัดขาดการติดต่อได้นายจ้างไม่มีสิทธิ์ติดต่อเรียกว่า “สิทธิ์การเพิกเฉย” (right to disconnect) เพราะเห็นว่าชีวิตของลูกจ้างควรจะมี Work Life Balance ไม่ควรจะต้องพร้อมทำงานนอกเวลาตลอดหรือที่เรียกว่า “Always on”  พร้อมมีกรณีศึกษาตัวอย่าง การฟ้องร้อง ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ที่ลูกจ้างชนะคดีความและได้รับเงินชดเชยเป็นจำนวนมากด้วย

                   – ประเทศโปรตุเกส ได้ออกกฎหมายใหม่คือ “Right to Rest” คือห้ามเจ้านายติดต่อนอกเวลางานเพื่อสนับสนุนให้ลูกจ้างได้มีชีวิตส่วนตัวตามหลัก Work Life Balance และถ้าหากนายจ้างฝ่าฝืนก็จะมีค่าปรับตามที่กฏหมายกำหนดด้วยเช่นกัน

                   – ประเทศฟิลิปปินส์ เนื่องด้วยการเรียกร้องสิทธิให้พนักงาน ทำให้เกิดกฎหมายที่ว่านายจ้างห้ามติดต่อเรื่องงานกับลูกจ้างนอกเวลา และการกระทำนั้นจะต้องไม่ถูกลงโทษหรือถือว่าเป็นการกระทำที่ผิด กฎหมายนี้เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 2017


ส่วนในประเทศไทยก็มีการกำหนด พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่เพิ่มเติมตามมาตรา 23/1 ที่ว่า นายจ้างและลูกจ้างจะต้องตกลง เวลาทำงาน เวลาพักผ่อน วันลา ให้ชัดเจน เพื่อเป็นการคุ้มครองคุณภาพชีวิตของลูกจ้าง และในกฏหมายตัวนี้ยังกล่าไว้ว่าลูกจ้างสามารถปฏิเสธการติดต่อสื่อสารกับนายจ้างนอกเวลางานได้โดยไม่มีความผิดและจะต้องไม่ส่งผลต่อการประเมินงานหรือการประเมินขึ้นเงินเดือนด้วยรวมถึงเลื่อนตำแหน่ง การติดต่อนอกเวลางานสามารถเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อนายจ้างและลูกจ้างมีการตกลงและยินยอมร่วมกัน มีผลบังคับใช้  18 เมษายน 2566 โดยกฎหมายตัวนี้จะมาคอยช่วยเสริมคุณภาพชีวิตให้กับลูกจ้างได้มีเวลาส่วนตัวและสามารถโฟกัสกับกิจกรรมอย่างอื่นได้อย่างเต็มที่ไม่ต้องคอยกังวลดูข้อความตลอดเวลา

Facebook Comments Box