Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

ตำนานมโนราห์ (๑)

ศิลปะการแสดงพื้นบ้านและการละเล่น ซึ่งเป็นที่นิยมชื่นชอบสำหรับประชาชนในภาคใต้ ที่มีการถ่ายทอดสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ได้แก่ โนรา หนังตะลุง เพลงบอก ดีเกร์ฮูลู รองแงงตันหยง สิละ และเพลงเรือ เป็นต้น ศิลปะการแสดงพื้นบ้านและการละเล่นภาคใต้เหล่านี้ มีประวัติและความเป็นมาแตกต่างกัน โดยเฉพาะศิลปะการแสดงโนรา ซึ่งนับได้ว่าเป็นการแสดงพื้นบ้านที่นิยม เผยแพร่ไปทั่วภูมิภาคของภาคใต้ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน และยังสามารถถ่ายทอดเผยแพร่ไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของไทยและต่างประเทศอีกด้วย

โนรา เป็นการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ประเภทหนึ่ง มีระเบียบแบบแผนในการแสดง มีการฝึกฝนและสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลักษณะของการแสดงโนราประกอบด้วย การรำ การร้อง และการแสดงเป็นเรื่อง การรำเป็นกลวิธีอย่างหนึ่ง ซึ่งถือได้ว่ามีความสำคัญยิ่ง มีเอกลักษณ์เฉพาะของการแสดงโนรา (ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์. 2539 : 1)

โนราเป็นศิลปะการแสดงของภาคใต้ที่มีประวัติและพัฒนาการมาเป็นระยะเวลายาวนาน มีความเจริญรุ่งเรืองและมีการเปลี่ยนแปลงควบคู่กับชุมชน ปรากฏหลักฐานจากคำบอกเล่า ตำนานบทกาศครู หลักฐานเอกสารและข้อวินิจฉัยของผู้รู้ท้องถิ่น ต่างเห็นว่า โนราคงได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมของอินเดียทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม แล้วค่อยผสมผสานกับวัฒนธรรมในท้องถิ่น จนพัฒนารูปแบบเป็นเอกลักษณ์ของตนเองแล้วแพร่กระจายออกไปสู่ชุมชนอื่น ๆ รวมทั้งการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงมาจนถึงปัจจุบัน (พิทยา บุษรารัตน์และเบญจวรรณ บัวขวัญ. 2559 :  41)

สิ่งสำคัญที่จะทำให้ทราบประวัติความเป็นมานั้นควรศึกษาจากตำนานคำบอกเล่าที่ครูโนราได้กล่าวถึงในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีการบันทึกศึกษาต่อกันมา ดังนั้นเรื่องราวใด ๆก็ตามที่มีขึ้น เกิดขึ้นในอดีตอันยาวนานมาแล้ว ก็ย่อมจะหาความชัดเจนได้ยากเพราะในสมัยโบราณวิทยาการในการเขียน การบันทึก ยังไม่เจริญก้าวหน้าเหมือนปัจจุบัน จะรู้จะทราบก็จากคำบอกเล่าจากปากหนึ่งไปสู่อีกปากหนึ่ง ถ่ายทอดกันเป็นเช่นนี้เรื่อยมา เมื่อระยะเวลานานเข้า ๆ และจากปากคำบุคคลหลายๆบุคคล ก็ย่อมจะทำให้เนื้อความที่เป็นจริงผิดเพี้ยนกันไป ลักษณะการเช่นนี้เรียกว่า “ตำนาน” (วิเชียร ณ นคร. 2523 : 73) ดังต่อไปนี้

ตำนานโนราฉบับคำบอกเล่าของขุนอุปถัมภ์นรากร ซึ่งได้มีการบันทึกเป็นบทกลอนโดย รองศาสตราจารย์ภิญโญ จิตต์ธรรม ดังบทกลอนต่อไปนี้                                     

 

ตำนานที่ 1

นางนวลทองสำลี
นรลักษณ์งามหนักหนา
เทวาเข้าไปดลจิต
รูปร่างอย่างขี้หนอน (กินนร)
แม่ลายฟั่นเฟือน
บทบาทกล่าวพาดพัน
จำได้สิบสองบท
เมื่อฟื้นตื่นขึ้นมา
แจ้งตามเนื้อความฝัน
วันเมื่อจะเกิดเหตุ
ให้อยากดอกมาลัย
เทพบุตรจุติจากสวรรค์
รู้ถึงพระบิดา
ลูกชั่วร้ายทำขายหน้า
พร้อมสิ้นกำนัลใน
พระพายก็พัดกล้า
พัดเข้าเกาะกะชัง
ร้อนเร้าไปถึงท้าว
ชบเป็นบรรณศาลา
พร้อมสิ้นทั้งโฟกหมอน
ด้วยบุญพระหน่อไท
เมื่อครรภาถ้วนทศมาส
อีกองค์เอี่ยมเทียมผู้ชาย
เล่นรำตามภาษา
เล่นรำพอจำได้
เล่นรำตามภาษา
จีนจามพราหมณ์ข้าหลวง
จีนจามพราหมณ์เทศไท
ท้าวพระยาสายฟ้าฟาด
ดูนรลักษณ์และพักตรา
แล้วหามาถามไถ่
รู้ว่าบุตรแม่ทองสำลี
แล้วให้รำสนองบาท
สมพระทัยหัตถยัง
และประทานซึ่งเครื่องทรง
แล้วจดคำจำนรรจา

เป็นบุตรีท้าวพระยา
จะแจ่มดังอัปสร
ให้เนรมิตเทพสิงหร
ร่อนรำง่าท่าต่างกัน
ตระหนกล้วนแต่เครือวัลย์
ยอมจำแท้แน่หนักหนา
ตามกำหนดในวิญญาณ์
แจ้งความเล่าเหล่ากำนัล
หน้าที่นั่งของท้าวไท
ให้อาเพทกำม์จักไกล
อุบลชาติผลพฤกษา
เข้าทรงครรภ์นางฉายา
โกรธโกรธาเป็นฟุนไฟ
ใส่แพมาแม่น้ำไหล
ลอยแพไปในธารัล
เลก็บ้าพ้นกำลัง
นั่งเงื่องงงอยู่ในป่า
โกสีย์เจ้าท่านลงมา
นางพระยาอยู่อาศัย
แท่นที่นอนนางทรามวัย
อยู่เป็นสุขเปรมปรีดิ์
ประสูติราชจากนาภี
เล่นรำได้ด้วยมารดา
ตามวิชาแม่สอนให้
เจ้าเข้าไปเมืองอัยกา
ท้าวพระยามาหลงใหล
ไททั้งปวงอ่อนน้ำใจ
ย่อมหลงใหลในวิญญาณ์
เห็นประหลาดใจหนักหนา
เหมือนลูกยานวลทองสำลี
เจ้าเล่าความไปถ้วนถี่
พาตัวไปในพระราชวัง
ไทธิราชสมจิตหวัง
ท้าวยลเนตรเห็นความดี
คล้ายขององค์พระราชา
ให้ชื่อ ขุนศรีศรัทธา

(เล่มเดิม. 2523 : 89-90)

ที่มา : E-book การแสดงโนราพื้นฐานสำหรับเยาวชน 
ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์  (อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์)

Facebook Comments Box