Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

สีและการออกแบบ

“ชอบสีอะไร” เป็นคำถามยอดฮิตที่เรามักจะใช้ถามใครสักคนเกี่ยวกับสิ่งที่ชอบ เพราะทุกคนมีสีโปรดในใจ และเลือกที่จะซื้อหรือใช้สีที่ชอบ บทความนี้จะทำให้เห็นว่าสีมีผลต่ออารมณ์และความรู้สึกมากกว่าที่เราคิด

สีเป็นหนึ่งในสิ่งกระตุ้นการมองเห็นพื้นฐานที่สุดในลำดับการรับรู้ของมนุษย์ ลองจินตนาการแล้วหลับตา และนึกภาพว่า คุณกำลังยืนอยู่ในริมทะเลสีฟ้าคราม ท้องฟ้าสีฟ้าสดใส มันทำให้คุณรู้สึกอย่างไร? ในขณะเดียวกันจู่ ๆ ท้องฟ้าเปลี่ยนเป็นสีดำ มีเมฆทะมึนลอยเข้ามา มันก็จะทำให้ความรู้สึกเปลี่ยนไป ดังนั้นสีและอารมณ์จึงเป็นของคู่กัน

ขณะเดียวกัน สี  มีอิทธิผลต่อธุรกิจ เพราะก่อให้เกิดปฏิกิริยาและอารมณ์ที่หลากหลายได้ เป็นวิธีที่สื่อถึงบุคลิกของแบรนด์ได้มากที่สุด และส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า อย่างไรก็ตาม การรับรู้ของสีขึ้นกับเพศ บริบททางวัฒนธรรม ประสบการณ์ส่วนตัว และระบบประสาท เช่น  สีแดงเป็นสีนำโชคในวัฒนธรรมจีน แต่ ชาวแอฟริกาใต้เชื่อมโยงสีแดงกับการไว้ทุกข์เพราะส่วนสีแดงของธงของประเทศแสดงถึงการหลั่งเลือดในระหว่างการต่อสู้เพื่อเอกราช หรือชาวจีนไม่นิยมหมวกสีเขียว เพราะวลีว่า “ใส่หมวกสีเขียว”ตรงกับคำว่า “กำลังถูกสวมเขา” ในภาษาของเขา หรือ ตัวอย่างการทดลองหลุยส์ เชสกิน (Louis Cheskin) นักจิตวิทยาชาวยูเครนที่ได้ทดลองชวนแม่บ้านหลายคนมาฟังบรรยาย และได้สลับเนยสด กับมาร์การีนเอาไว้ในแต่ละวันและถามความคิดเห็น โดยทดลองย้อมสีมาร์การีนให้เป็นสีเหลืองและติดป้ายว่าเป็นเนยสด และย้อมสีเนยสดเป็นสีขาวและเขียนป้ายว่า มาร์การีน ซึ่งผลออกมาก็ตามคาด คือคนที่ทาน มาร์การีน บอกว่ามันอร่อย และคนที่ทานเนยสดที่โดนย้อมสีบอกว่า มันเลี่ยน ซึ่งเป้าหมายของการทดลองทำให้พิสูจน์ได้ว่า ความพึงพอใจหรือความสุขใจ มาจากความคาดหวังของเรามากกว่าส่วนประกอบแท้จริง รวมไปถึงรสชาติที่เรารับรู้ด้วย

ดังนั้นการใช้สีต้องระมัดระวัง และเลือกใช้ให้เหมาะสม หากคุณเลือกสีที่ไม่ถูกต้องสำหรับเนื้อหาหรือโลโก้ของคุณ อาจทำให้อ่านไม่ออกและยากสำหรับผู้ชมที่จะเข้าใจ หรือคุณสามารถเสี่ยงต่อการถูกเพิกเฉย และรู้สึกไม่มั่นคงได้ เช่น แบรนด์การเงินจะไม่ใช้สีแดง หรือบริษัทก่อสร้างที่จะไม่ใช้สีชมพู เพราะสีเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ธุรกิจ การสร้างยอดขายให้ผลิตภัณฑ์ รวมไปจนถึงใช้เพื่อการบำบัดร่างกายและจิตใจ ดังนั้นการเลือกสีอย่างมีกลยุทธ์ในการทำการตลาด คุณอาจจะชนะใจผู้บริโภคได้ด้วยความแตกต่าง โดดเด่น ซึ่งการวิจัยพบว่าสีสามารถเพิ่มการจดจำแบรนด์ได้ถึง 80% นี่คือเหตุผลว่าทำไมการทำความเข้าใจจิตวิทยาสีจึงมีประโยชน์อย่างมากสำหรับการทำการตลาด ซึ่งแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จและมีอิทธิพลมากที่สุดในโลกหลายแบรนด์สามารถจดจำได้จากสีของแบรนด์ ตัวอย่างเช่น

Coca-Cola ใช้สีแดงอันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ เพื่อกระตุ้นความอยากอาหาร เชื่อมโยงกับความรู้สึกด้านบวก ความสนุกสนาน และพลังงาน หรือ Netflix ใช้สีแดงเนื่องจากเกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่ขึ้นและลงที่ผู้คนรู้สึกเมื่อพวกเขาดูภาพยนตร์หรือรายการทีวี  

Sumsung  ใช้สีฟ้าเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ ความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือ

Ikea  ใช้สีเหลือง เพราะเป็นสีที่สื่อถึงความสุขได้ดีที่สุด กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ความมีชีวิตชีวา เป็นมิตร แง่บวก ส่งผลให้การซื้อสินค้าเพื่อตกแต่งบ้านของพวกเขา เต็มไปด้วยความสุขและการมองโลกในแง่ดีสำหรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ

Chanel และ Nike ใช้สีดำ เป็นสัญลักษณ์ของความลึกลับ อำนาจ ความสง่างาม และความประณีต รวมถึงเน้นใช้สีดำทั่วทั้งเว็บไซต์ จึงทำให้เว็บไซต์อ่านง่าย และยังใช้สีดำเน้นภาพ ซึ่งกระตุ้นการตัดสินใจซื้อสินค้า

Starbucks และธนาคารกสิกรไทย ใช้สีเขียว เรื่องการเชื่อมโยงกับธรรมชาติและเงิน และยังสื่อถึงการเจริญเติบโต เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

พรรคก้าวไกล ใช้สีส้ม ซึ่งสื่อถึงความคิดสร้างสรรค์ การผจญภัย ความกระตือรือร้น ความสำเร็จ และความสมดุล อีกทั้งสีส้มยังช่วยเพิ่มความสนุกสนานให้กับรูปภาพ เว็บไซต์ หรือสื่อการตลาดต่าง ๆ ได้ดีอีกด้วย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้สร้างภาพจำต่อพรรคก้าวไกลที่มีสีส้มได้เป็นอย่างดี

เห็นได้ชัดว่าการใช้สี มีอิทธิพลต่อวิธีคิดและพฤติกรรมของผู้คนที่มีต่อแบรนด์อย่างมาก การเลือกสีที่เหมาะสม สามารถช่วยให้ผู้คนตัดสินใจได้ว่าสิ่งใดสำคัญได้ และยังส่งเสริมบุคลิกของแบรนด์ สร้างความแตกต่าง และสร้างเอกลักษณ์ และสุดท้ายแล้ว การใช้สีแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ จะเป็นกุญแจสำคัญในการใช้ประโยชน์สูงสุดต่อแบรนด์

อ้างอิง

https://aommoney.com/sensation-transference/
https://www.oberlo.com/blog/color-psychology-color-meanings
https://looka.com/blog/brand-colors/
https://looka.com/blog/colors-and-emotions/
https://www.smeleader.com
https://thewisdom.co/content/color-psychology-in-marketing/
https://www.shutterstock.com/th/blog/color-psychology-brands/
https://sumeka.co.th/2824/
https://www.ignytebrands.com/the-psychology-of-color-in-branding/
https://thaipublica.org/2013/06/the-power-of-color/

Facebook Comments Box