Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

รูหนอนเป็นไปได้หรือไม่ในเอกภพของเรา

ศาสตราจารย์ ดร. พงษ์พิชิต จันทร์นุ้ย phongpichit.ch@mail.wu.ac.th 
ดร. ถกล ตั้งผาติ takoltang@gmail.com 
กลุ่มวิจัยทางด้านฟิสิกส์ทฤษฎีพลังงานสูงหรือ Theoretical high energy physics research group
สาขาวิชาฟิสิกส์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ 

                แนวความคิดของรูหนอนเป็นหนึ่งในความฝันหนึ่งของมนุษยชาติ ใครจะไม่อยากเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในชั่วพริบตากัน โดยแนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องในสื่อต่างๆ อย่างเช่น นิยายวิทยาศาสตร์อย่าง การ์ตูนเรื่องโดราเอมอน ที่จะมีประตูที่เดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ทันที หรืออย่างหนังเรื่อง Stargate ที่เราสามารถเดินทางไปยังดาวต่างๆ ได้ทันที่ ผู้คนต่างสงสัยว่าแนวความคิดนี้สามารถเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ เพื่อที่จะตอบคำถามดังกล่าว เราต้องประยุกต์ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษและทั่วไปที่ถูกค้นพบโดยอัลเบิร์ต ไอสไตน์ในปี ค.ศ. 1905 และ 1915 ตามลำดับ ซึ่งทฤษฎีดังกล่าวนี้ได้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการบิดเบี้ยวของกาลและอวกาศและผลกระทบของสสาร แรกเริ่มของแนวความคิดรูหนอนถูกพัฒนาโดย Ludwig Flamm ใน ปี ค.ศ. 1916 ซึ่งตอนนั้นถูกเรียกว่าหลุมขาวที่จะปลอดปล่อยสสารออกมาตรงกันข้ามกับหลุมดำที่ดูดกลืนทุกสิ่ง ต่อมาในปี ค.ศ. 1935 ไอสไตน์และโรเซ่น ได้บัญญัติคำว่าสะพานซึ่งจะทำหน้าที่เชื่อมกาลอวกาศเข้าด้วยกันแต่ยังไม่สามารถใช้ในการเดินทางได้จริง จนกระทั่งการค้นพบโดย Misner และ Wheeler ในปี ค.ศ. 1957 เป็นการบัญญัติคำว่ารูหนอนเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตามการมีอยู่ของรูหนอนนี้ต้องการสสารแปลก หรือ exotic matter ซึ่งจะละเมิดกับเงื่อนใขพลังงานในฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น ความหนาแน่นพลังงานติดลบ ดังนั้นในมุมมองของทฤษฎี สสารแปลกนี้จะทำหน้าที่คงสภาพของโครงสร้างของรูหนอนเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขการแผ่ของรูหนอน ในปัจจุบันนี้มีความพยายามในการหาผลเฉลยของรูหนอนโดยไม่พึ่งพาสสารแปลกหรือลดปริมาณให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ การพัฒนาตัวทฤษฎีรูหนอนได้แบ่งออกเป็น 2 สาขาใหญ่นั่นคือ 1. Traversable wormholes ที่ถูกสร้างจากสสารแปลก ทำให้เราสามารถเดินทางได้จากสองทาง 2. Thin-shell wormholes ที่อาศัยการบิดเบี้ยวของกาลอวกาศเนื่องจากสสารที่มีความหนาแน่นสูง เช่น บริเวณใกล้ๆ กับหลุมดำ หรือ ดาวนิวตรอน ซึ่งกาลอวกาศจะถูกเชื่อมด้วยสิ่งที่เรียกว่า thin-shell โดยในรั้วของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้มีกลุ่มวิจัยทางด้านฟิสิกส์ทฤษฎีพลังงานสูงหรือ Theoretical high energy physics research group นำโดย ศาสตราจารย์ ดร. พงษ์พิชิต จันทร์นุ้ย phongpichit.ch@mail.wu.ac.th  และ ดร. ถกล ตั้งผาติ takoltang@gmail.com จากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาฟิสิกส์ ได้วิจัยและพัฒนากำลังคนในด้านดังกล่าวซึ่งมีหัวข้อวิจัยที่กำลังทำอยู่ คือ

  1. จักรวาลวิทยา
  2. ทฤษฎีสัมพัทธภาพปรับแต่ง
  3. การศึกษาคุณสมบัติของวัตถุอัดแน่น เช่น หลุมดำ ดาวควาร์ก/ดาวนิวตรอน
  4. รูหนอน

เราได้เปิดรับนักศึกษาที่มีศักยภาพในระดับปริญญาตรีถึงระดับปริญญาเอกเพื่อเรียนรู้ศาสตร์ดังกล่าวพร้อมกับทักษะทำวิจัยในระดับแนวหน้า (Frontier research) ให้ทัดเทียมกับนานาชาติ โดยกลุ่มวิจัยนี้ได้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 3 คือการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว) ได้กำหนดขึ้น

          หากเด็กๆ นักศึกษาสนใจในงานวิจัยและศาสตร์ด้านฟิสิกส์ทฤษฎีพลังงานสูงสามารถเข้ามาสมัครเรียนกันที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ตามช่องทางนี้ได้ครับ https://www.wu.ac.th/th   และติดตามผลงานของอาจารย์ทั้งสองได้ทาง

ศาสตราจารย์ ดร. พงษ์พิชิต จันทร์นุ้ย : https://inspirehep.net/authors/1070464?ui-citation-summary=true

ดร. ถกล ตั้งผาติ https://inspirehep.net/authors/1862247?ui-citation-summary=true

รูหนอนเป็นไปได้หรือไม่ในเอกภพของเรา
ภาพดังกล่าวมาจากงานวิจัยตามนี้ : T. Tangphati, A. Chatrabhuti, D. Samart and P. Channuie, Thin-shell wormholes in de Rham-Gabadadze-Tolley massive gravity,'' Eur. Phys. J. C 80 (2020) no.8, 722.
รูหนอนเป็นไปได้หรือไม่ในเอกภพของเรา
ภาพดังกล่าวมาจากงานวิจัย : T. Tangphati, C. R. Muniz, A. Pradhan and A. Banerjee, ``Traversable wormholes in Rastall-Rainbow Gravity,'' [arXiv:2309.01976 [gr-qc]].

บทความโดย : ดร. ถกล ตั้งผาติ https://inspirehep.net/authors/1862247?ui-citation-summary=true

Facebook Comments Box