Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

เด็กและวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมติดเกม

สถานการณ์เด็กและวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมติดเกม

การติดเกมจัดเป็นปัญหาสุขภาพจิตของเด็กและวัยรุ่นที่มีความจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเร่งด่วน พบความชุกทั่วโลกร้อยละ 0.6-19.9 ในประเทศไทยพบความชุกร้อยละ 15.6 องค์การอนามัยโลกได้ให้นิยมว่า โรคติดเกม(Gaming Disorder) คือบุคคลที่มีพฤติกรรมเล่นเกมซ้ำๆ ไม่น้อยกว่า 12 เดือน ซึ่งส่งผลกระทบทางลบ ทั้งในระดับบุคค ครอบครัว และสังคม

ผลกระทบทางลบในสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นที่พบได้บ่อยครั้งได้แก่ สูยเสียการเรียนหรืออกจากระบบการศึกษา ละเลยการดูแลสุขภาพ อารมณ์รุนแรง พฤติกรรมก้าวร้าว สร้างความขัดแย้งหรือระยะห่างในความสัมพันธ์ของครอบครัว การก่ออาชญากรรม แะการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

จะเห็นได้ว่าโรคติดเกมในเด็กและวัยรุ่นมีความรุนแรงเนื่องจาก เกมสามารถตอบสนองความสนุก ความท้าทาย การระบายแรงขับความก้าวร้าว การรู้สึกประสบความสำเร็จและชัยชนะ ทำให้เด็กรู้สึกพอใจในตนเองและเป็นการเสริมแรงทางบวกให้เกิดพฤติกรรมการเล่นเกม

ลักษณะของเด็กและวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมติดเกม

  • ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้เล่นเกมในเวลาที่กำหนดได้ ทำให้ใช้เวาในการเล่มเกมนานติดต่อกันและเล่นนานขึ้นเรื่อยๆ อาจจะข้ามวันข้ามคืน
  • ต่อต้าน หงุดหงิด หรือแสดงออกถึงความไม่พึงพอใจเมื่อถูกห้ามให้เลิกหรือหยุดเล่นเกม
  • การเล่นเกมส่งผลกระทบต่อชีวิตของเด็กและวัยรุ่น เช่น ไม่สนใจการเรียน ละเลยการเข้าสังคม หนีออกจากบ้านเพื่อไปเล่นเกม ขโมยเงินเพื่อนำไปเล่นเกม แยกตัวหรือเก็บตัว

สาเหตุของการติดเกมในเด็กและวัยรุ่น

ปัจจัยในตัว : เด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาสุขภาพจิตมีโอกาสเกิดความเสี่ยงต่อการติดเกมมากกว่าเด็กทั่วไป เช่น มีอารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวล หรือสมาธิสั้น เด็กที่ขาดทักษะทางสังคม เข้ากับกลุ่มเพื่อนไม่ได้ มีปัญหาการเรียน และมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่ำ

การเลี้ยงดูในครอบครัว : เด็กและวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมติดเกม มักพบในครอบครัวที่ขาดการฝึกวินัย ขาดกติกา กฎระเบียบ เลี้ยงดูแบบตามใจ และมักใจอ่อน ไม่ลงโทษตามกฎเมื่อเด็กไม่กระทำตามกติกา หรือสมาชิกในครอบครัวไม่รักใคร่กัน ต่างคนต่างอยู่ ทำให้เด็กแะวัยรุ่นเกิดความเหงา ไร้ที่พึ่ง ทำให้เด็กหันมาให้ความสำคัญกับการเล่นเกมเพราะเป็นสิ่งเดียวที่คอยอยู่เป็นเพื่อนแะทำให้เขามีความสุข

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม : เด็กและวัยรุ่นในสังคมปัจจุบันเติบโตมาในสังคมดิจิทัล ส่งผลขาดพื้นที่ในการทำกิจกรรม หรืออยู่รวมกันของผู้คนที่เกดความสนุก เพลิดเพลิน ในโลกของความเป็นจริง และกิจกรรมเล่านั้นเปลี่ยนไปอยู่บนโลกดิจิทัล ทำให้เกิดความตื่นเต้นในตัวเด็กเป็นอย่างมาก จึงก่อเป็นแรงผลักดันหนึ่งให้เด็กและวัยรุ่นหันไปเล่นเกม รวมถึงการเติบโตในครอบครัว ที่พ่อแม่ต้องเร่งทำงานจนหลงลืมและการมอบความรัก ความอบอุ่น และเวลาซึ่งสำคัญมากๆ ต่อเด็กและวัยรุ่น ส่งผลให้เด็กแะวัยรุ่นหาทางออกด้วยการเล่นเกม

วิธีป้องกันพฤติกรรมติดเกมในเด็กและวัยรุ่น

  • พูดคุยเพื่อกำหนดกติกาก่อนจัดซื้ออุปกรณ์ที่สามารถเล่นเกมได้
  • วางตำแหน่งของอุปกรณ์ให้สามารถมองเห็นและควบคุมได้
  • วางนาฬิกาในจุดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
  • ให้คำชมเมื่อสามารถควบคุมเวลาเล่นเกมได้
  • เด็ดขาด เมื่อไม่รักษากติกา
  • หาเวลาจัดกิจกรรมร่วมกันของคนในครอบครัว
  • หลีกเลี่ยงการใช้เกมเป็นพี่เลี้ยงเด็ก
  • สอนให้รู้จักใช้เวลาอย่างเหมาะสม

วิธีแก้ไขพฤติกรรมติดเกมในเด็กและวัยรุ่น

  • หากยังไม่มีกติกาในการเล่นเกม ให้จำเป็นต้องพูดคุยกับเด็กและวัยรุ่นเพื่อสร้างกติการ่วมกัน
  • ให้เวลาอยู่ด้วยกันอย่างมีคุณภาพ
  • รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและวัยรุ่น
  • ผู้ปกครองทุกคนในบ้านร่วมมือและใช้กติกาเดียวกัน
  • สร้างเครือข่ายของผู้ปกครองที่มีเด็กและวัยรุ่นในบ้านที่ติดเกมเหมือนกัน
  • ผู้ปกครองควรทำความเข้าใจกับเกมที่เด็กชอบเล่น เพื่อสร้างความเข้าใจในบริบทของเกม หากเป็นเกมที่ส่งเสริมต่อการเกิดพฤติกรรมรุนแรงจะได้หาวิธีป้องกัน และให้คำแนะนำได้อย่างเหมาะสม

เขียนโดย

อาจารย์สันติพงศ์ แก้วนรา

อาจารย์ประจำสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์

กลุ่มสาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

ขอขอบคุณอ้างอิงเนื้อหาจาก : คู่มือวิทยากรสำหรับการฝึกอบรมผู้ปกครองเพื่อลดปัญหาการติดเกม โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ขอขอบคุณภาพจาก : Canva

Facebook Comments Box