Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

สำรวจพฤติกรรมการทำงาน กับคน 4 ประเภท ไปกับ DISC Model

Credit ภาพ : https://www.linkedin.com/pulse/disc-personality-profile-what-your-style-guy-dawson

สำรวจพฤติกรรมการทำงาน กับคน 4 ประเภท ไปกับ DISC Model

          ในองค์กรหนึ่งองค์กรมีความแตกต่าง ผู้บังคับบัญชา เจ้านาย เพื่อนร่วมงานต้องเจอกับผู้ใต้บังคับบัญชากับเพื่อนร่วมงานที่มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปในทุกๆ วัน แล้วเราจะทำยังไงให้ความแตกต่างของคนไม่มาเป็นอุปสรรคในการบริหารองค์ หรือไม่เป็นอุปสรรคในการทำงานเป็นทีม

          บุคลิกภาพทางจิตวิทยาเป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำความเข้าใจความแตกต่างทั้งในแง่ของอุปนิสัยโดยรวม รวมถึงความถนัดเฉพาะด้าน อย่างตามทฤษฎีบุคลิกภาพของ DISC หรือบุคลิกภาพ 4 แบบ เป็นวิธีที่จะช่วยสร้างความไว้วางใจ ความเข้าใจ และทำให้ทีมทำงานร่วมมีประสิทธิภาพได้

Disc Model คือแบบทดสอบบุคลิกภาพอีกอย่างหนึ่ง แต่จะเน้นไปในด้านการทำงาน การอยู่กับเพื่อนร่วมงาน จุดเด่นและจุดด้อยของคนแต่ละประเภทในการงาน โดย Disc Model เริ่มต้นขึ้นมาจาก ดร. วิลเลียม มาร์สตัน (Dr. William Marston) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันผู้ประดิษฐ์ต้นแบบเครื่องจับเท็จยุคแรก สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก Harvard University สาขาจิตวิทยา และเป็นนักทฤษฏีเกี่ยวกับความเสมอภาค ที่สำคัญเป็นเจ้าของทฤษฏี DISC Model ที่ได้ตีพิมพ์ในหนังสือ ‘Emotion of Normal People’ ซึ่งได้พูดถึงกระบวนการทำงานของอารมณ์ความรู้สึกในคนปกติที่นำไปสู่ลักษณะพฤติกรรมที่มีความหลากหลาย

DISC คือลักษณะบุคลิกภาพของคนแต่ละประเภทที่สังเกตได้จากนิสัยการทำงานและสภาพแวดล้อมของคนแต่ละประเภท ประกอบไปด้วย 4 ลักษณะ คือ Dominance, Influence, Steadiness และ Compliance ซึ่งจริง ๆ แล้วทุกคนอาจมีหลายลักษณะอยู่ในตัวเองก็ได้ แต่จะมีอย่างเดียวที่ปรากฏออกมาชัดเจน นั่นก็คือ ‘จุดเด่น’ ของเรา สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมการทำงานว่าแต่ละคนมีจุดเด่นในการทำงานอย่างไร หรือมีข้อจำกัดอะไรบ้าง โดย DISC Model คือสิ่งที่สามารถวัดพฤติกรรมการทำงานของมนุษย์ได้ และเรานำมาใช้ต่อยอดเพื่อพัฒนาตัวเองต่อไปได้

ลักษณะของ DISC Model ทั้ง 4 ประเภทคืออะไรบ้าง

  1.  
  2. มนุษย์กลุ่ม D (Dominance) ผู้นำ

ชาว Dominance แน่นอนว่ามีลักษณะนิสัยตามชื่อกลุ่ม จะมีพฤติกรรมการทำงานประเภทชอบความท้าทาย ตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ความมั่นใจในตัวเองสูง ไม่ชอบการบังคับ หรืออยู่ในกฎเกณฑ์มากเกินไป เป็นคนเด็ดขาด ชอบความรวดเร็ว และไม่ชอบงานที่มีระบบระเบียบขั้นตอนเยอะ ด้วยพฤติกรรมการทำงานแบบนี้จึงทำให้ขาดความรอบคอบ จึงอาจทำให้เกิดความผิดพลาดในส่วนเล็กส่วนน้อยเสมอ

ข้อควรระวัง: ด้วยความที่เป็นคนมั่นใจสูงก็จะมีอีโก้สูง ไม่ยอมฟังใคร มองว่าตัวเองเป็นผู้นำ แต่ลักษณะของผู้นำที่ดี นอกจากพาทีมไปยังเป้าหมายได้สำเร็จแล้ว ก็ยังต้องฟังคำเตือน หรือข้อเสนอแนะของคนอื่นด้วย

วิธีการมอบหมายงานให้ Dominance

  • – D เป็นคนมุ่งผลลัพธ์ในการมอบหมายงานหัวหน้าจึงควรบอกผลลัพธ์ที่ต้องการให้พวกเขาทราบอย่างชัดเจน
  • – บอกกําหนดเวลาของงาน เพื่อพวกเขาจะสามารถส่งมอบงานได้ตรงตามกําหนดเวลาที่หัวหน้าต้องการ
  • – หัวหน้าต้องชี้แจงของเขตอํานาจและทรัพยากรที่พวกเขามีเพื่อป้องกันไม่ให้พวกเขาไปสั่งการหรือใช้ทรัพยากรของผู้อื่นเกินอํานาจที่มี
  • – D ชอบควบคุมสถานการณ์ดังนั้น การมอบหมายงานใด ๆ ควรให้พวกเขากําหนดวิธีการทํางานเองและให้อิสระในการทํางาน

มนุษย์กลุ่ม I (Influence) ผู้ทรงอิทธิพล

ชาว Influence คือมนุษย์โลกสวย เดินเล่นในทุ่งลาเวนเดอร์อย่างแท้จริง มีความคึกคัก สนุกสนาน ชอบสร้างสีสันและเข้าสังคม และจะมีความกระตือรือร้นมาก มองโลกในแง่ดีและเป็นที่รักของทุกคนในออฟฟิศ เรียกได้ว่ามีพฤติกรรมการทำงานที่ไม่เน้นการทำงาน เพราะเน้นการสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับออฟฟิศ ทำให้เพื่อนร่วมงานสนุกอยู่เสมอ

ข้อควรระวัง: เป็นคนที่มักจะปฏิเสธคนไม่เก่ง และมักจะไว้ใจคนอื่นมากเกินไป ด้วยศักยภาพการโน้มน้าวใจคน อาจจะโดนหมั่นไส้เพราะเป็นจุดเด่นอยู่เสมอ

วิธีการมอบหมายงานให้ Influence

  • – ตรวจสอบให้แน่ใจก่อนเสมอว่าพวกเขาเข้าใจตรงตามผลลัพธ์ที่คุณคาดหวัง เพราะคนที่เต็มไปด้วยจินตนาการความคิดสร้างสรรค์แบบ I มีแนวโน้มที่คิดในแบบของตัวเองมากกว่า
  • – ควรย้ำเรื่อง deadline ในการส่งงานให้ชาว Influence เนื่องจากจินตนาการที่บรรเจิดของพวกเขามักจะทําให้ควบคุมเวลาไม่ค่อยได้
  • – ช่วยพวกเขากําหนดขั้นตอนของการทํางานและตัวชี้วัดที่ต้องทําให้สําเร็จภายในกําหนดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับงานที่มีความซับซ้อน แม้ว่าพวกเขาจะเก่งกาจในการมองภาพใหญ่ แต่ก็มีจุดอ่อนในเรื่องรายละเอียด
  1. มนุษย์กลุ่ม S (Steadiness) ผู้รักความสงบ

ชาว Steadiness ผู้รักความสงบจะมีพฤติกรรมนิ่งสงบสยบความเคลื่อนไหว ใจเย็น เป็นผู้รับฟังที่ดี เสมอต้นเสมอปลาย ยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์พาไป ยืนหนึ่งเรื่องมีไหวพริบดี ชอบความเป็นขั้นเป็นตอนของการทำงาน ซึ่งถือว่าเป็นเพื่อนร่วมงานกลุ่มที่ควรเอามาร่วมทีมด้วยที่สุด

ข้อควรระวัง: เนื่องจากชาว Steadiness ไม่ชอบความวุ่นวาย ชอบอยู่ในเซฟโซนของตัวเอง และไม่ชอบความขัดแย้ง ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงอะไรที่กะทันหัน และมักถูกมองว่าเป็นคนเอื่อย ๆ ไม่พัฒนาตัวเอง ชอบยึดติดกับอะไรเดิม ๆ

วิธีการมอบหมายงานให้ Steadiness

  • – การมอบหมายงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานใหม่ ๆ ที่พวกเขาไม่เคยทํามาก่อน ให้อธิบายทีละขั้นตอนเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องทําพร้อมเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อพวกเขาจะสามารถกลับไปทบทวนได้
  • – อธิบายให้ทราบถึงทรัพยากรที่มีให้ในการทํางาน เพราะพวกเขามีแนวโน้มที่จะไม่กล้าเอ่ยปากขอ
  • – กําหนดการติดตามผลเป็นประจํา เพื่อช่วยให้พวกเขามั่นใจว่ายังทํางานได้ตรงตามความต้องการและเป็นโอกาสที่จะตอบคําถามของพวกเขา
  • – เพราะพวกเขาเป็นคนขี้เกรงใจ หัวหน้าจึงควรช่วยพวกเขาในการขอความร่วมมือจากผู้อื่นในกรณีที่จําเป็น
  1. มนุษย์กลุ่ม C (Compliance) ผู้รักความสมบูรณ์แบบ

นักวิเคราะห์และ perfectionist อันดับหนึ่งอย่างชาว Compliance จะมีนิสัยเหมือนเป็นนักวางแผน ทำอะไรต้องวางแผนเสมอ และต้องเป็นขั้นเป็นตอน มีความรอบคอบ ช่างสังเกต ชอบอะไรที่ซับซ้อน และทุกอย่างต้องเป๊ะ จะเป็นกลุ่มที่คิดล่วงหน้าเสมอเพื่อจะประเมินความเสี่ยงที่จะเกิด และชอบวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ

ข้อควรระวัง: หลายคนอาจะมองว่าคนกลุ่มนี้จู้จี้จุกจิกเกินไป และการที่ต้องวางแผนให้ชัดเจนทุกกระเบียดนิ้วก่อนที่จะทำอะไรอาจจะทำให้พลาดโอกาสดี ๆ ได้เช่นกัน บางครั้งก็ควรจะลองเสี่ยงดูบ้าง จริง ๆ เพราะการขี้ระแวงก็เป็นข้อดี และก็เป็นข้อเสียได้เช่นกัน

วิธีการมอบหมายงานให้ Compliance

  • – ขณะมอบหมายงานให้อธิบายอย่างเป็นเหตุเป็นผล คํานึงถึงความถูกต้อง แม่นยําในสิ่งที่คาดหวัง รวมถึงมาตรฐานในเชิงคุณภาพ
  • – อธิบายเหตุผลสําหรับการทํางานที่มอบหมาย งานดังกล่าวมีผลต่อองค์กรโดยรวมอย่างไร
  • – ควรย้ำเรื่อง deadline ในการส่งงาน เพราะ C มีแนวโน้มที่จะพลาดการส่งงานตามกําหนดเวลาทั้งที่ทําเสร็จแล้ว เพราะงานดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์แบบตามมาตรฐานของพวกเขา

ประโยชน์ของ Disc Model คืออะไร

  • – ลดปัญหาความขัดแย้ง สร้างบรรยากาศการทำงานเป็นทีม เมื่อสมาชิกภายในทีมมีความตระหนักในผลกระทบของความแตกต่าง ก็จะทำให้ไม่คาดหวังและตัดสินผู้อื่นจากมุมมองของตนเองเพียงอย่างเดียว
  • – สามารถใช้ DISC Model ในการบริหารดูแลพนักงาน เพิ่มศักยภาพ และพัฒนาประสิทธิภาพของบุคลากร เพราะเมื่อรู้จุดแข็งของพนักงานก็จะสามารถดึงจุดนั้นมาใช้งานได้มากขึ้น

อ้างอิงข้อมูล :

https://www.marketingoops.com/reports/disc-personality-type/

https://th.hrnote.asia/personnel-management/220521-disc-model/

https://www.mycareer-th.com/res_disc_model.php

 

Facebook Comments Box