Red and Green Textured Illustrative English Sustainable Eco Products Presentation (1)

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คืออะไร

“คาร์บอนฟุตพริ้นท์” หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต/การประกอบชิ้นงาน การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน รวมถึงการขนส่งที่เกี่ยวข้อง โดยคำนวณออกมาในรูปของ กรัม, กิโลกรัม หรือตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจชื้อของผู้บริโภค และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีในการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น การใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกด้วย เนื่องจากขณะนี้ในหลายประเทศเริ่มมีการนำคาร์บอนฟุตพริ้นท์มาใช้กันแล้ว ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นต้น […] Read More

OCC

คนเดินเท้า: กลุ่มเปราะบางบนถนนและการเกิดอุบัติเหตุ

เรื่อง: จันจิรา มหาบุญ ภาพ: เดน่า มหาบุญ ‘Pedestrians have right of way’ เป็นประโยคที่ผู้เขียนพบเจอบ่อยครั้งบนป้ายจราจรสีเหลืองสดตามท้องถนน เมื่อครั้งได้ไปศึกษาที่ประเทศออสเตรเลีย สื่อหมายความถึง คนเดินเท้าได้สิทธิ์ในการเดิน และผู้ใช้ยานพาหนะทุกประเภทจะต้องหยุดและให้ทางคนเดินเท้าไปก่อน ในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยเกิดความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจร ที่เกิดขึ้นกับคนเดินเท้า (pedestrians) ขณะเดินข้ามถนนหลายต่อหลายครั้ง องค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) […] Read More

งานระบาด

โรคระบาดในไทยกับอนามัยสิ่งแวดล้อม 

โดย อาจารย์อภิรักษ์  บำยุทธ “ครั้นมาถึงเดือนเจ็ดข้างขึ้น เวลายามเศษทิศพายัพเห็นเป็นแสงเพลิงติดอากาศเรียกว่าทุมเพลิง เกิดไข้ป่วงมาแต่ทะเล ไข้นั้นเกิดมาแต่เมืองเกาะหมากก่อน แล้วข้ามมาหัวเมืองฝ่ายตะวันตก เดินขึ้นมาจนถึงปากน้ำเจ้าพระยา ชาวเมืองสมุทรปราการตายลงเป็นอันมาก ก็พากันอพยพขึ้นมากรุงเทพมหานครบ้าง แยกย้ายไปทิศต่าง ๆ บ้าง ที่กรุงเทพก็เป็นขึ้นเมื่อ ณ วันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 7 ไปจนถึงวันเพ็ญ คนตายทั้งชายหญิง ศพที่ป่าช้าแลศาลาดินในวัดสระเกษ วัดบางลำพู […] Read More

Search

ทำไมต้องรายงานช่วงเชื่อมั่นในรายงานวิจัย

โดย อาจารย์นัทชา นารมย์ อาจารย์ประจำสำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ งานวิจัยเชิงพรรณนาที่ต้องการประมาณค่าลักษณะประชากร เช่น นักศึกษาในมหาวิทยาลัยภาคใต้มีอัตราการติดเชื้อโควิด (covid-19) ร้อยละเท่าใด คำนวณได้จากอัตราการติดเชื้อจากตัวอย่างที่ได้ศึกษา เช่น ร้อยละ 10 จากนั้นนำค่าดังกล่าวไปประมาณอัตราการติดเชื้อโควิด (covid-19) ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยภาคใต้ทั้งหมดโดยตรง ซึ่งนักวิจัยจะไม่สามารถระบุได้ว่าคำตอบมีโอกาสถูกต้องเท่าใด เพราะถ้ามีการทำซ้ำอีกครั้งด้วยวิธีเดียวกัน ก็อาจได้คำตอบที่ต่างออกไป   วิธีการทางสถิติที่เหมาะสมกับการรายงานผลดังกล่าวคือ การประมาณค่าด้วยช่วงเชื่อมั่น ซึ่งเป็นวิธีการนำค่าสถิติที่คำนวณได้จากกลุ่มตัวอย่างไปประมาณค่าแบบช่วง โดยแสดงผลในรูปค่าขอบเขตล่าง (lower […] Read More

กิน long covid

ลองโควิดฟื้นฟูด้วยอาหาร

บทความโดย อ.จารุเนตร เพ็ชรชูสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลองโควิด (Long COVID) คือ ภาวะของคนที่หายจากโควิด-19 แล้วแต่ยังต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่ ซึ่งอาการลองโควิดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 10–20 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุถึงอาการที่เกิดขึ้น เช่น รู้สึกไม่สบายเหมือนไม่หายจากการเจ็บป่วย การหายใจไม่อิ่มและไม่สุด เหนื่อย เพลีย มึนศีรษะ […] Read More

เด็กใช้ Phone

สุขภาพของเด็ก กับการนอนเล่นสมาร์ทโฟน

โดย ผศ.จิตตาภรณ์ มงคลแก่นทราย (สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์) สมาร์ทโฟน ถือเป็นปัจจัยที่ 5 ที่มีความสำคัญมากๆในสังคมปัจจุบัน เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร ความบันเทิง การสืบค้นข้อมูล และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งสามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้อย่างมาก จากข้อมูลของของ Digital 2022 Global Overview ของเดือน ม.ค. 2565 พบว่า คนไทยติดอันดับสองของโลกที่ใช้เวลาเฉลี่ยการเล่นอินเทอร์เน็ตจากมือถือที่ 5 […] Read More