Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

ปัญญาประดิษฐ์กับการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพร

“ใครไม่รู้จัก AI ……………..มาทางนี้ครับ”

เรามักจะคุ้นเคยกับการใช้ AI หรือ Artificial Intelligent หรือที่เราเรียกเขาว่าปัญญาประดิษฐ์ ในชีวิตประจำวันมาสักระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งพบว่ามีทั้งคนที่เห็นด้วย และต่อต้าน ในการนำ AI มาใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีเหตุผลทั้งนั้น

ทุกอย่างล้วนมีทั้งข้อดี และข้อเสีย ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน และใช้เป็น AI ก็เช่นกัน การรู้เท่าทัน AI และใช้งานให้เป็น จะทำให้เราได้เครื่องมือดี ๆ ที่ทุ่นทั้งแรง เวลา และยังช่วยตรวจสอบความถูกต้องข้อมูล ในทางกลับกัน หากเราไม่รู้เท่าทัน ก็อาจจะเกิดข้อกังวลที่ทุกคนคิดถึงได้ ในยุคที่มีการ Disruption ในหลาย ๆ งาน และการดำรงชีวิตของเหล่ามวลมนุษย์ AI อาจจะถูกมองว่า อาจจะมาทดแทนมนุษย์ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งดูแย่มาก ๆ เลยใช่ไหมครับ

ในบทความนี้ ผู้เขียนลองใช้ Chat GPT ในการค้นหาความสนใจของคนเราที่มีต่อสมุนไพรในระบบสุขภาพ อันหนึ่งที่น่าสนใจคือสมุนไพรที่มีผลต่อ Gut health หรือสุขภาพของระบบทางเดินอาหารของเรานั่นเอง ซึ่งแน่นอนมีผลกระทบต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกายด้วย รวมทั้งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทุกคนย่อมมีระบบทางเดินอาหารใช่ไหมครับ หรือใครจะเถียงครับ

ตัวอย่างง่าย ๆ หากใครท้องผูก ไม่ขับถ่าย ของเสียที่คั่งค้างย่อมทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย ทั้งที่ผ่านการหมักหมมของของเสียในร่างกาย รวมทั้งอนุมูลอิสระที่จะเกิดขึ้นมากมาย ทำให้เกิดความเสื่อของสุขภาพได้ ในระยะยาวก็อาจจะเกิดโรคภัยไข้เจ็บอื่น ๆ ตามมาอีก ไม่ว่าจะเป็นริดสีดวงทวาร หรือแม้กระทั่งมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

เริ่มรู้สึกสนใจขึ้นมาแล้วใช่ไหมครับ เราจะนำเอาเทคโนโลยี หรือ AI มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร โดยไม่ได้มอง AI เป็นสิ่งที่จะต้องร้องยี้ เมื่อถูกกล่าวถึง ใช่แล้วครับ เราต้องรู้ทัน AI และนำ AI มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในที่นี้ผมจะขอเสนอการนำ AI มาช่วยเราในการหาข้อมูลทางด้านสุขภาพกันครับ โดยขอยกตัวอย่างสมุนไพรที่ดีต่อระบบทางเดินอาหารของมนุษย์เรากันครับ

ก่อนอื่นผู้เขียนต้องบอกก่อนเลยว่า ผู้เขียนใช้ Chat GPT ใน version 3.5 ซึ่งฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งข้อมูลที่ Update อาจจะไม่ได้ครอบคลุมถึงปัจจุบัน แต่ก็ใกล้เคียง โดยใช้ Keyword ในการค้นหาข้อมูลคือ “Herbs that good for Gut” โดยดำเนินการเปลี่ยนชื่อประเทศหรือภูมิภาคตามที่ต้องการ พบข้อมูลดังนี้

ภาพที่ 1) สมุนไพรไทยที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร

Turmeric (Khamin) Ginger (Khing) Galangal (Kha) Lemongrass (Takhrai) Holy Basil (Kaphrao) Coriander (Pak Chee) Peppermint (Saranae) Pandan Leaves (Bai Toey)Thai Chili (Prik) Cumin (Yi Ra) Aloe Vera

ภาพที่ 2) สมุนไพรจีนที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร

Ginger (姜, Jiāng) Peppermint (薄荷, Bòhé) Licorice Root (甘草, Gāncǎo) Chinese Skullcap (黄芩, Huángqín) Atractylodes (白术, Báizhú) Codonopsis (党参, Dǎngshēn) Chinese Rhubarb (大黄, Dàhuáng) Forsythia (连翘, Liánqiào) Jujube Fruit (大枣, Dàzǎo) Coptis (黄连, Huánglián):  

ภาพที่ 3) สมุนไพรญี่ปุ่นที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร

Shiso (Perilla), Miso, Natto, Umeboshi, Kombu, Green Tea, Ginger, Daikon Radish, Yuzu, Koji  

ภาพที่ 4) สมุนไพรของประเทศอินเดียที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร

Turmeric (Curcuma longa) Fenugreek (Trigonella foenum-graecum) Ginger (Zingiber officinale) Amla (Emblica officinalis) Peppermint (Mentha piperita) Licorice (Glycyrrhiza glabra) Triphala Ajwain (Trachyspermum ammi) Cumin (Cuminum cyminum) Ashwagandha (Withania somnifera)

ภาพที่ 5) สมุนไพรของทวีปยุโรปที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร

Peppermint (Mentha piperita) Chamomile (Matricaria chamomilla) Fennel (Foeniculum vulgare) Ginger (Zingiber officinale) Dandelion (Taraxacum officinale) Aloe Vera Turmeric (Curcuma longa) Thyme (Thymus vulgaris) Rosemary (Rosmarinus officinalis) Lemon Balm (Melissa officinalis)  

ภาพที่ 6) สมุนไพรของแถบละตินอเมริกาที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร

Peppermint (Mentha x piperita) Boldo (Peumus boldus) Yerba Mate (Ilex paraguariensis) Papaya (Carica papaya) Chamomile (Matricaria chamomilla) Chanca Piedra (Phyllanthus niruri) Oregano (Origanum vulgare) Guava (Psidium guajava)

ภาพที่ 7) สมุนไพรของทวีปแอฟริกาที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร

Aloe Vera (Aloe barbadensis ) Bitter Kola (Garcinia kola) Senna (Senna alexandrina) Baobab (Adansonia spp.) Ginger (Zingiber officinale) Moringa (Moringa oleifera) Fenugreek (Trigonella foenum-graecum) African Mint (Ocimum gratissimum) African Wormwood (Artemisia afra) Rooibos (Aspalathus linearis)  

จากข้อมูลข้างต้นที่ได้ พบว่าสมุนไพรที่ถูกกำหนดไว้ว่าเป็นสมุนไพรที่ดีต่อระบบทางเดินอาหารนั้นในแต่ละพื้นที่มีความเหมือน และแตกต่างกันไป ขึ้นกับพันธุ์พืชสมุนไพรที่มีในท้องที่นั้น รวมทั้งวัฒนธรรม และการดำรงชีวิตของชนในประเทศ หรือภูมิภาคนั้น ๆ โดยสมุนไพรที่เน้นหลัก ๆ จะมีดังนี้

  • สมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการขับลมในระบบทางเดินอาหาร เช่น ขิง ขมิ้นชัน ตะไคร้ กะเพรา ผักชี สาระแหน่ เป็นต้น ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้มีน้ำมันหอมระเหย ช่วยในการขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ได้เป็นอย่างดี
  • สมุนไพรที่ช่วยระบาย ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย โดยเฉพาะสมุนไพรที่มีเส้นใย เช่น Kombu ช่วยในเรื่งอของระบบขับถ่าย โดยช่วยเพิ่มมวลของอุจจาระ และทำให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ และสารจำพวก Antraquinone เช่น Chinese rhubarb เป็นต้น ซึ่งช่วยในการกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ทำให้เกิดการขับถ่ายได้เป็นปกติ
  • สมุนไพรที่ช่วยในการทำงานของระบบย่อยอาหาร เช่น มะละกอ รากชะเอมเทศ Miso Natto ใบมะรุม พริก เป็นต้น ซึ่งกลุ่มนี้ จะมีกลไกหลากหลาย อาทิ เช่น การที่มะละกอมี Papain ซึ่งเป็นเอนไซม์ย่อยโปรตีน รากชะเอมเทศช่วยปรับการทำงานของระบบทางเดินอาหาร พริกช่วยเร่งการเผาผลาญพลังงาน ใบมะรุมมีโปรตีนสูง และยังช่วยในเรื่องของการกระตุ้นระบบการขับถ่ายได้อีกด้วย ส่วน Miso และ Natto เป็นการถนอมอาหาร โดยใช้ถั่วเหลืองเป็นวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ จะมีพวก Probiotics ที่ดี ช่วยในเรื่องของระบบการทำงานของระบบทางเดินอาหาร และยังมีผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกด้วย

สมุนไพรที่นิยมใช้กัน จากข้อมูลที่ค้นพบ จะเห็นว่า ขิง ขมิ้นชัน และสาระแหน่ เป็นพืชสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งทั้งสามชนิดนี้มีอยู่ในประเทศของเรา และสามารถนำมาใช้ทั้งเป็นยา อาหาร และเครื่องสำอาง รวมทั้งผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ๆ อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การใช้สมุนไพรในเชิงสุขภาพ ต้องมีการพิจารณาความปลอดภัย เหมาะสมในแต่ละกรณีด้วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีการใช้ยาอื่น ๆ ในการรักษา เนื่องจากอาจเกิด Drug-Herb Interaction ได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ขิงกับยาละลายลิ่มเลือด เป็นต้น

“จะเห็นได้ว่า เราสามารถใช้ AI ช่วยเราในการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ในขณะเดียวกันข้อมูลที่ได้ยังต้องผ่านการวิเคราะห์ ตรวจสอบจากมนุษย์อย่างเราอยู่ดี เพื่อให้เกิดความถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

เอกสารอ้างอิง

Wu, Chaoyong & Chen, Jianxin & Leung, Elaine & Chang, Hang & Wang, Xu. (2022). Editorial: Artificial Intelligence in Traditional Medicine. Frontiers in Pharmacology. 13. 10.3389/fphar.2022.933133.

Feng, Chuwen & Zhou, Shuoyan & Qu, Yuanyuan & Wang, Qingyong & Bao, Shengyong & Li, Yang & Yang, Tiansong. (2021). Overview of Artificial Intelligence Applications in Chinese Medicine Therapy. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. 2021. 1-6. 10.1155/2021/6678958.

OpenAI. (2023). ChatGPT (August 3 Version) [Large language model]. https://chat.openai.com

https://www.google.com

Facebook Comments Box