Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

Tag: สำนักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

Roonglawan Nakan

รีวิวหนังสือ THE NOUMENAL โดย Rainer Forst

รีวิวโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรรถสิทธิ์ สิทธิดำรง อาจารย์ประหลักสูตรรัฐศาสตร์ เล่มนี้ดีมาก รวมบทความด้านทฤษฎีสังคมและปรัชญาการเมืองของไรเนอร์ ฟรอสต์ผู้นำของสำนักแฟร็งค์เฟิร์ตคนปัจจุบัน ถือเป็นงานที่ต้องอ่านสำหรับคนที่สนใจสถานะความรู้ของสำนักแฟร็งค์เฟิร์ต โดยเฉพาะเล่มนี้ของฟรอสต์ซึ่งเป็นงานที่ทั้งต่อยอดรากฐานความคิดของฮาเบอร์มาสและผสานรากฐานดังกล่าวเข้ากับจารีตแบบเสรีนิยมของรอลส์ ภายใต้การกลับไปตีความและพัฒนาทฤษฎีการเมืองบนโครงการทางปรัชญาของค้านท์ ฟรอสต์เริ่มต้นข้อเสนอด้วยการตีความฐานคิดของค้านท์ซึ่งแยกโลกออกเป็นสองใบคือ the noumenal หรือโลกที่เป็นจริงๆ กับ the phenomenal หรือโลกที่ปรากฎในความรับรู้ของเราเสียใหม่ ผ่านการปฏิเสธการตีความแบบ dualism หรือทวินิยมที่แยกโลกทั้งสองใบและตอกย้ำถึงขีดจำกัด/ความเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะก้าวข้ามโลกที่ปรากฎในการรับรู้ของตนไปเข้าถึงโลกที่เป็นอยู่จริงๆ โดยฟรอสต์ได้ชี้ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงของความเป็นมนุษย์ในฐานะตัวตนแห่งเหตุผลที่สามารถตั้งคำถามถึง justification

Read More »
Roonglawan Nakan

[รีวิวหนังสือ] Four Thousand Weeks ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์

“ถ้าการซักผ้าด้วยมือเคยเป็นกิจกรรมที่เหนื่อย น่าเบื่อ และทำให้ชีวิตของเราเสียเวลาเป็นอย่างมาก ทำไมการที่ทุกวันนี้เรามีเครื่องซักผ้าอัตโนมัติ ชีวิตของเรากลับยังเหนื่อย น่าเบื่อ และเสียเวลากับการซักผ้า” คือหนึ่งในคำถามที่หนังสือ ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์ ของโอลิเวอร์ เบอร์คีแมน (Oliver Burkeman) ได้กระตุกให้ผู้อ่านฉุกคิด เพื่อมองภาพการใช้ชีวิตของพวกเราในปัจจุบันให้ลึกขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์ หรือ Four Thousand Weeks เป็นหนังสือแนวการพัฒนาตัวเอง ผสมผสานกับแนวคิดกึ่งปรัชญา ที่ให้อธิบายถึงแนวทางการบริหารจัดการเวลา (Time Management)

Read More »
WEDANG uwUh
Roonglawan Nakan

WEDANG UWUH

เครื่องดื่มสมุนไพรพื้นเมืองแห่งยอกยาการ์ตา WEDANG UWUH เครื่องดื่มสมุนไพรพื้นเมืองแห่งยอกยาการ์ตา Wedang Uwuh คือเครื่องดื่มชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นเครื่องดื่มพื้นเมืองจากสุสานราชวงศ์ Imogiri เมืองบันตุล ยอกยาการ์ตา คำว่า “Wedang Uwuh” ในภาษาชวามีความหมายเฉพาะตัว ซึ่ง “Wedang” แปลว่าเครื่องดื่ม และ “Uwuh” แปลว่าขยะ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “เครื่องดื่มขยะ”

Read More »
อาหารทานเล่นอินโดนีเซีย
Roonglawan Nakan

Bakwan Sayur

Bakwan Sayur อาหารทานเล่น อินโดนีเซีย Bakwan Sayur หรือผักทอด เป็นอาหารประเภททอด ที่ทำมาจากผักและแป้งสาลี มักจะมีขายทั่วไปตามร้านหาบเร่ หรือร้านริมถนน ผักที่ใช้ผสมในการทอดโดยส่วนใหญ่คือ ข้าวโพด กะหล่ำปลี แครอทหั่นบางๆ ต้นหอม  นำมาคลุกเคล้าผสมกับแป้งสาลีและทอดในน้ำมันปริมาณมาก วิธีการทำ Bakwan Sayur หรือผักทอด ขั้นตอนวิธีการทำ เมื่อผักทอดสุกเรียบร้อยให้ใช้กระชอนสะเด็ดน้ำมัน แล้วจัดเตรียมใส่ลงในภาชนะเพื่อรับประทาน

Read More »
Roonglawan Nakan

รีวิวหนังสือ POSTLIBERAL

รีวิวหนังสือ POSTLIBERAL ของ Adrian Pabst ผู้เขียนเสนอว่าระเบียบการเมืองแบบเสรีนิยมที่ดำรงอยู่ในโลกขณะนี้ เป็นระเบียบแบบผีดิบ คือสูญเสียความชอบธรรมและคุณค่าต่อชีวิตทางการเมืองของผู้คนธรรมดาโดยเฉพาะการปล่อยให้กลไกตลาดของระบบทุนนิยมกลายเป็นตัวกำหนดชีวิตที่ดีของแต่ละคน หากแต่ขณะเดียวกันก็ยังอยู่ในภาวะไม่ยอมตาย เพราะระเบียบการเมืองอื่นๆยังไม่สามารถสถาปนาขึ้นมาทดแทนได้ ไม่ว่าจะเป็นระเบียบประชาธิปไตยแบบประชานิยมของฝ่ายชวา หรือระเบียบแบบอำนาจนิยมเอเชียของจีน ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอตัวแบบของระเบียบใหม่ที่จะขึ้นมาแทนที่ระเบียบการเมืองเสรีนิยม นั่นก็คือระเบียบแบบชุมชนนิยม โดยผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นว่าระเบียบดังกล่าว เป็นระเบียบที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในชีวิตทางการเมืองของมนุษย์ ซึ่งวางอยู่บนธรรมชาติทางสังคมที่ทุกคนหาใช่ปัจเจกที่เป็นอิสระสามารถแยกตนออกจากสายสัมพันธ์ต่างๆได้อย่างสมบูรณ์ หากแต่เป็น embedded entity หรือตัวตนที่การดำรงอยู่จะสัมพันธ์กับสายสัมพันธ์อื่นๆเสมอ วิถีทางการเมืองที่สำคัญจึงเป็นวิถีที่ให้ความสำคัญกับคุณธรรมและจริยศาสตร์ที่กำหนดคุณค่าบนความสัมพันธ์ที่ปัจเจกแต่ละคนมีร่วมกันกับผู้อื่นเสมอ การเมืองในแบบหลังเสรีนิยม หรือ postliberal

Read More »
Roonglawan Nakan

รีวิวหนังสือ Socrates and Self-Knowledge ของ Christopher Moore

รีวิวหนังสือ Socrates and Self-Knowledge ของ Christopher Moore ผู้เขียนเสนอประเด็นที่ striking มาก ว่า know-thyself หรือการรู้จักตนเองแบบโสเกรติสนั้น ไม่ใช่เรื่องของการค้นหาตัวตนเพื่อให้ตัวเองตระหนักถึงสิ่งที่ตนเป็นจริงๆ เพราะต้องไม่ลืมว่า self เป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับบริบทเฉพาะที่เปลี่ยนแปลงได้เสมอ ขณะที่ความรู้ (หรือสิงที่เรารู้ได้) ตามคติของกรีกโบราณ ต้องเป็นสิ่งที่ timeless เป็น universal ไม่เปลี่ยนแปลง

Read More »
Roonglawan Nakan

“บ่อขยะหมู่ 6”: ปัญหาและข้อสังเกต

“บ่อขยะหมู่ 6” เป็นบ่อขยะแห่งเดียวในตำบล ก. อำเภอ ข. จังหวัดนครศรีธรรมราช (ด้วยเหตุผลความละเอียดอ่อนของปัญหาขยะและการจัดการ บทความขนาดสั้นชิ้นนี้จึงปกปิดชื่อของหน่วยงานบริหารและองค์การปกครองที่เกี่ยวข้อง) ตั้งอยู่บนตีนเขาติดกับเขตจังหวัดตรัง ใกล้บ้านของหนึ่งในผู้เขียน ซึ่งก็ได้เติบโตมาพร้อมๆ กับบ่อขยะแห่งนี้ที่มีขนาดใหญ่โตขึ้นทุกวัน รองรับขยะจำนวนมหาศาลซึ่งเพิ่มปริมาณเนื่องจากการขยายตัวของอำเภอ การที่มีบ่อขยะอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆ ได้ส่งผลต่อทั้งผู้คนและธรรมชาติ บ่อขยะแบบฝังกลบที่ได้รับการจัดการไม่ดีพอ และพลาสติกที่ต้องใช้เวลามากกว่าชั่วอายุคนในการย่อยสลาย ย่อมส่งผลกระทบไปอีกนานแสนนาน แต่เรื่องราวของบ่อขยะยังมีอะไรมากกว่านั้น   วิถีชีวิตของหมู่บ้านก่อนการสร้างบ่อขยะ หมู่ 6 ตำบล

Read More »
Roonglawan Nakan

Stoicism: Virtue and the Therapy of Grief ปรัชญาสโตอิก คุณธรรมกับการบำบัดความเศร้าในชีวิต

Stoicism: Virtue and the Therapy of Grief ปรัชญาสโตอิก คุณธรรมกับการบำบัดความเศร้าในชีวิต ปรัชญาสำนักสโตอิกหรือ stoicism เป็นกลุ่มปรัชญาที่ก่อตั้งในช่วง 300 ปีก่อนคริสต์กาลในนครเอเธนส์โดยนักปรัชญาชื่อเซโนแห่งไซติอุม กลุ่มนักปรัชญาสโตอิกนี้ ถือเป็นกลุ่มปรัชญาที่มีบทบาทสำคัญกระทั่งมีการกล่าวกันว่าเป็นสำนักปรัชญาที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุคโบราณนับตั้งแต่อสัญกรรมของอริสโตเติลเรื่อยมาจนถึงยุครุ่งเรืองของจักรวรรด์โรมัน นักปรัชญาที่โด่งดังในสำนักนี้ได้แก่ ซิเซโร่, เซเนก้า, และจักรพรรดิมาร์คัส ออเรลิอุส ฯลฯ เป็นต้น ส่วนเนื้อหาคำสอนของปรัชญาสำนักนี้ก็จะประกอบด้วยหลากหลายประเด็น ตั้งแต่อภิปรัชญา

Read More »
Peeraya Hongsopa

VUCA World

VUCA เป็นตัวย่อที่ย่อมาจากคำศัพท์ Volatility, Uncertainty, Complexity และ Ambiguity ซึ่งคำนี้มีต้นกำเนิดในบริบททางทหารและต่อมาถูกนำมาใช้โดยผู้นำทางธุรกิจและนักยุทธศาสตร์เพื่ออธิบายถึงธรรมชาติที่ท้าทายและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกสมัยใหม่ โดยแต่ละองค์ประกอบของ VUCA แสดงถึงลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันของสภาพแวดล้อมที่องค์กรและบุคคลจะต้องดำเนินการ ซึ่งได้แก่ ความผันผวน หมายถึง ความเร็วและขนาดของการเปลี่ยนแปลงในโลกที่ผันผวน สภาวะต่างๆ สามารถผันผวนอย่างรวดเร็วและคาดเดาไม่ได้ ทำให้คาดการณ์และวางแผนสำหรับอนาคตได้ยาก ความไม่แน่นอน อธิบายถึงการขาดการคาดการณ์และการมีอยู่ของข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ ความไม่แน่นอนทำให้การประเมินความเสี่ยงและการตัดสินใจเป็นเรื่องท้าทาย ความซับซ้อน แสดงถึงลักษณะที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงถึงกันของปัญหาและระบบ โดยความซับซ้อนเกิดขึ้นจากปัจจัย ความสัมพันธ์

Read More »
Peeraya Hongsopa

DNA ของผู้นำที่มีประสิทธิภาพ

เขียนโดย ผศ.รัชฎาทิพย์ อุปถัมประชา รักษาการแทนรองคณบดีสำนักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ เมื่อนึกถึง “อนาคตของงาน” จะเริ่มจากการมองที่ภายนอกโดยเริ่มต้นจากสิ่งแวดล้อมจากภายนอกมาสู่ภายใน เป็นคุณค่าที่กำหนดโดยผู้รับ แล้วเข้ามาสู่ภายในคือความสามารถของมนุษย์ หรือจะเริ่มจากความสามารถของมนุษย์ซึ่งเป็นภายใน ซึ่งเป็นการสร้างจุดแข็งของเราเพื่อเสริมสร้างผู้อื่นแล้วไปสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก ดังนั้นผู้นำจึงควรเป็นบุคคลที่สร้างคุณค่าให้ผู้อื่น จะเป็นการตระหนักถึงความท้าทายตามบริบทที่จะสร้างความสามารถของมนุษย์ DNA ของผู้นำที่มีประสิทธิภาพ 1. Human Capital developer ส่งเสริมคนรุ่นต่อไปด้วยการทำให้ผู้อื่นรู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้น  เน้นกลยุทธ์ระยะยาว 2. Strategist สร้างความมั่นใจในกลยุทธ์ในอนาคตโดยกำหนดวิสัยทัศน์/พันธกิจที่น่าสนใจ 3. Talent manager ใช้ชีวิตด้วยความเห็นอกเห็นใจ มีอารมณ์เชิงบวกมีพลังงานชีวิต สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ  4. Executor ทำตามสัญญาด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี 5. Personal proficiency ดูแลตัวเองเพื่อที่คุณจะดูแลคนอื่นได้ เป็นการลงทุนในตัวเอง  สมรรถนะในการเป็นผู้นำ การมุ่งผลลัพธ์ • ให้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม • จัดลำดับความสำคัญของความรับผิดชอบ

Read More »
Peeraya Hongsopa

บันทึกการเดินทางเยือนอินโดนีเซีย, มิถุนายน 2565

ระหว่างวันที่ 1-12 มิถุนายน 2565 คณาจารย์สำนักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ ดร.สุรสิทธิ์ วชิรขจร คณบดี อาจารย์นฤมล กล้าทุกวัน รองคณบดี และอาจารย์เพ็ญศรี พานิช อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตร์/อาเซียนศึกษา ผู้สอนภาษาอินโดนีเซียและประสานงานด้านอินโดนีเซียศึกษา เดินทางเยือนมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการในประเทศอินโดนีเซีย และพานักศึกษาหลักสูตรอาเซียนศึกษาจำนวน 10 คน ไปศึกษาในประเทศอินโดนีเซียเป็นระยะเวลา 6-10 เดือน

Read More »
Peeraya Hongsopa

Researcher in Focus ,Dr. Trin Aiyara

Today, Researcher in Focus had the chance to sit down and talk with Ajarn Dr. Trin Aiyara, a lecturer in charge of teaching courses in the Political Science Program’s International Relations Major.

Read More »
July 2025
M T W T F S S
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031  

บทความยอดนิยม